จิตวิทยาการสื่อสารเชิงบวก

จิตวิทยาการสื่อสารเชิงบวก

ชื่อหลักสูตร จิตวิทยาการสื่อสารเชิงบวก
หลักการและเหตุผล

จิตวิทยาการสื่อสารเชิงบวก คือ การถ่ายทอด ข้อมูล ความคิด ความรู้สึก จากผู้หนึ่งไปสู่อีกผู้หนึ่งในหน่วยงานหรือองค์การ

การสื่อสาร คือ การติดต่อ สั่งงาน รับคําสั่งระหว่างผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติ หัวหน้า ลูกน้อง ทั้งนี้ เพื่อผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเป้าหมายเดียวกัน การสื่อสารจึงทำหน้าที่เสมือนเป็นกุญแจสำคัญที่ใช้ไขสู่ความสำเร็จในการงานและอาชีพ ตลอดจนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้คนในสังคมทั่วไป

การรู้จักหลักจิตวิทยาในการสื่อสารจะช่วยให้ผู้ทำการสื่อสารสามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะสามารถใช้ทักษะและกลยุทธ์ในการสื่อสารที่ช่วยให้เกิดความเข้าใจตรงกัน ความคิดเห็นและประสบการณ์เกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ที่น่าสนใจ ด้วยเหตุนี้ การพัฒนาทักษะทั้งภาษาพูดและภาษากาย การรู้จักเครื่องมือและช่องทางที่จะใช้สื่อจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้การถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดระหว่างกันและกันได้อย่างถูกต้องและเข้าใจตรงกันทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสาร

อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า “การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ประกอบด้วยผู้ส่งสาร วิธีหรือช่องทางที่ใช้ในการสื่อเนื้อหาสาระและผู้รับสารจากภาพ จะเห็นว่า สิ่งที่เป็นอุปสรรคของการสื่อสาร นอกเหนือจากเทคนิควิธี และสิ่งรบกวนต่างๆ เช่น แสงสี เสียงและสื่อที่ใช้แล้ว ยังเกี่ยวข้องกับความเต็มใจในการนําเสนอ ทัศนคติระหว่างผู้สื่อ ผู้รับ ตลอดจน เป้าหมายที่คลุมเครือ ทักษะในการใช้สื่อ คําพูด ท่าทาง ความเชื่อ และการปกปิดความสนใจที่แท้จริงอีกด้วย

การสื่อสารที่ประสบความสำเร็จได้ จะต้องอาศัยคุณสมบัติของผู้สื่อสารที่ดี มีทัศนคติเชิงบวก คือ ความรู้สึกต่อสิ่งแวดล้อมในทางที่ดีหรือยอมรับ ความพอใจย่อมจะส่งผลให้การสื่อสารที่เป็นการการถ่ายทอดความคิดจากผู้ส่งไปยังผู้รับสารในทางที่ดี ถ้าผู้ส่งสารสามารถถ่ายทอดความคิดได้อย่างตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน ผู้รับจะรับรู้ได้ตรงประเด็น ไม่ตีความเอาเอง และต้องไม่ลืมว่า แม้ตัวเราเองก็ยังรับรู้บางเรื่องแบบเข้าข้างตัวเองหรือเอาตัวเองเป็นมาตรฐานจึงเป็นเรื่องยากที่จะคาดหวังให้ผู้รับข่าวสารจากเราจะเข้าใจตรงกับเราได้ถูกต้องทุกประการ

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ และเข้าใจจิตวิทยาการสื่อสารเชิงบวก

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำองค์ความรู้จิตวิทยาการสื่อสารเชิงบวกมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้

รายละเอียดหลักสูตร

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 หลักและทฤษฎีการสื่อสาร

1.1 ความหมาย แนวคิดเกี่ยวกับการสื่อสาร
1.2 ทฤษฎีการสื่อสารในศตวรรษที่ 21
1.3 แนวทาง หลักปฏิบัติและวิธีการ
1.4 ประโยชน์การสื่อสาร

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 กระบวนการรับรู้และการตีความ

2.1 กระบวนการรับรู้ (Perception)
2.2 แนวคิดการตีความ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 แนวคิดจิตวิทยาเชิงบวก

3.1 หลักการคิดเชิงบวกตามแนวคิดปรัชญา
3.2 หลักการคิดเชิงบวกตามแนวคิดศาสนา
3.3 หลักการคิดเชิงบวกตามแนวคิดมนุษนิยม
3.4 PERMA
3.5 การคิดเชิงบวกตามความเป็นจริง

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การฝึกปฏิบัติ (Workshop)

วิทยากร