ชื่อหลักสูตร การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน
หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันนี้ตลาดแรงงานเกิดความไม่สมดุลกันระหว่างอุปสงค์และอุปทานด้านแรงงาน กล่าวคือ บางสาขามีความต้องการแรงงานจำนวนมาก แต่ผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานมีจำนวนน้อยแต่ในทางกลับกันบางสาขาก็มีความต้องการแรงงานจำนวนน้อย แต่ผู้เข้าสู่ตลาดแรงงานมีจำนวนมาก ทั้งนี้ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการขาดการเตรียมความพร้อมที่ดีก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งจากการพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ยังขาดการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงาน กล่าวคือ ยังไม่มีการกำหนดเป้าหมายหรือวางแผนเกี่ยวกับการประกอบอาชีพในอนาคต เนื่องจากมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว อีกทั้ง ในการเลือกศึกษาต่อนั้นส่วนมากจะเลือกเรียนตามที่ผู้ปกครองต้องการให้เรียนหรือเลือกเรียนตามเพื่อนโดยที่ไม่ได้ทราบถึงแนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต รวมถึงไม่ทราบถึงบุคลิกภาพ ความถนัดและทักษะของตนเอง นอกจากนี้ ยังเกิดจากค่านิยมส่วนบุคคล โดยมุ่งหวังให้ลูกหลานศึกษาเล่าเรียนเพื่อให้ได้รับใบปริญญามากกว่าการเลือกศึกษาเล่าเรียนเพื่อการประกอบอาชีพในอนาคต
ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนทรัพยากรมนุษย์หรือทรัพยากรบุคคลให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว การแนะแนวอาชีพถือเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการที่จะช่วยให้บุคคลสามารถตัดสินใจเลือกศึกษาต่อหรือเลือกประกอบอาชีพได้ตรงกับความรู้ ความสามารถบุคลิกภาพ และความถนัดของตนเอง ก่อให้เกิดการมีงานทำ มีรายได้ ต่อไป
การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานนั้น กระบวนการการแนะแนวอาชีพเป็นกระบวนการหนึ่งที่จะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ ซึ่งภาครัฐจะต้องมีการกำหนดนโยบายและมาตรการที่ชัดเจน สำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องมีการนำเอาเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ มีการจัดทำ และพัฒนาข้อมูลต่างๆ เช่น ข้อมูลโลกอาชีพ ข้อมูลโลกการศึกษา ข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงาน สำหรับเผยแพร่ให้กับกลุ่มผู้รับบริการและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ จำเป็นต้องมีการบูรณาการการทำงานร่วมกันระหว่างภาคส่วนต่างๆ โดยแนวทางการแนะแนวอาชีพเพื่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานควรให้นักศึกษาได้รับการแนะแนวอาชีพและทดสอบความพร้อมทางอาชีพ อีกทั้งส่งเสริมให้มีการจัดทำบันทึกการวางแผนอาชีพ (Career Planning) ขึ้น เพื่อจะได้มีฐานข้อมูลและนำผลการทดสอบมาวิเคราะห์เป็นรายบุคคลและในภาพรวม จากนั้นนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางสำหรับสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้อง และสอดแทรกความรู้โลกการศึกษา โลกข้อมูลอาชีพ และโลกข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานให้แก่นักศึกษา ตลอดจนมีการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจในกระบวนการการแนะแนวอาชีพ มีการดำเนินการจัดทำข้อมูลโลกการศึกษา โลกข้อมูลอาชีพและข้อมูลข่าวสารตลาดแรงงานที่ทันสมัยเพื่อเผยแพร่ผ่านช่องทางต่างๆ มีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลอาชีพในสถานศึกษาขึ้นสำหรับเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านอาชีพ สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างภาคส่วนต่างๆ รวมทั้งทำความเข้าใจกับผู้ปกครองเพื่อร่วมมือสนับสนุนให้เด็กได้เลือกศึกษาต่อหรือประกอบอาชีพที่ตรงกับความรู้ความถนัดและทักษะและตรงกับความต้องการของตลาดแรงงานในอนาคต
นอกจากนี้ เสนอให้มีกฎหมายด้านการส่งเสริมการมีงานทำให้เป็นรูปธรรม รวมทั้งเสนอให้มีการศึกษาเกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลอุปสงค์และอุปทานด้านแรงงานด้วยเพื่อใช้ในการวิเคราะห์วางแผนการศึกษาต่อและวางแผนกาลังคนของประเทศ เพื่อสร้างความสมดุลระหว่างอุปสงค์ และอุปทานด้านแรงงาน
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป ผู้ศึกษาวิจัยเห็นว่าควรมีการขยายการศึกษาวิจัยให้ครอบคลุมกับนักเรียนสายสามัญศึกษาทั่วประเทศ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่นักเรียน และสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ให้ภาพรวมของประเทศ
การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน เป็นความสำคัญของการฝึกงานมีความตระหนักถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อตนเอง สาขาวิชาชีพและสถาบันฯการฝึกงานเป็นการเพิ่มทักษะความรู้ที่จำเป็นก่อนการทำงานจริง เมื่อสำเร็จการศึกษาฝึกระเบียบวินัย ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสามารถปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายฝึกงานร่วมกับผู้อื่น และสังคมการทำงาน
ดังนั้น เพื่อให้การประพฤติตนของนักศึกษาเป็นนักศึกษาฝึกงานที่ดีจึงควรได้รับการเตรียมความพร้อมเพื่อเรียนรู้ตนเอง เรียนรู้ธรรมชาติขององค์กร เข้าใจเป้าหมายของสถานประกอบการ และข้อควรปฏิบัติของสถานประกอบการอย่างเคร่งครัดมีสติและความรอบคอบในระหว่างการปฏิบัติงาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตรงต่อเวลาทำงานตามที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด อันจะนำมาซึ่งชื่อเสียงและเกียรติความภูมิใจของสถาบัน ที่จะเผยแพร่สู่สังคมภายนอก
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักตนเอง เตรียมพร้อมตนเอง มั่นใจในตนเองก่อนการฝึกการทำงานในสถานประกอบการจริง
2.เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจธรรมชาติการทำงานร่วมกับผู้อื่น และเข้าใจถึงลักษณะงานตลอดจนสภาวะจิตใจของผู้ร่วมงานในระดับต่างๆ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานในอนาคต
3.เพื่อฝึกให้นักศึกษาตระหนักถึงความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีมนุษยสัมพันธ์ และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
4.เพื่อให้นักศึกษาได้เห็นตัวอย่าง และรูปแบบในการนำความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ในการทำงานด้านต่างๆ
รายละเอียดหลักสูตร
1.การรู้จักตนเอง
– วิธีเคราะห์ตนเองด้วย Window of Johari
– เข้าใจตนเองก่อนเข้าใจผู้อื่น
– เป้าหมายในชีวิตของตนเอง
– สิ่งที่ตนเองควรพัฒนา
2.การรู้จักหน่วยงาน
– ทักษะของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21
– ความต้องการทักษะแรงงานในสถานประกอบการไทย
– 9 พฤติกรรมที่นายจ้างต้องการ
– ควรศึกษาอะไรในหน่วยงาน
3.หลักในการทำงานร่วมกับผู้อื่น
– ปัญญา 3
– สมชีวตา 4
– อิทธิบาท 4
– ฆราวาสธรรม 4
– สัปปุริสธรรม 7
4.แนวทางการปรับตัว
– ปรับตนเองด้วย 7 Habits
– ปรับตนเองด้วยสัทธรรม
– เทคนิคการถอดบทเรียน