Cross-functional

Cross-functional

ชื่อหลักสูตร Cross-functional Management
หลักการและเหตุผล

ทีมงานข้ามสายงาน หมายถึง กลุ่มทำงานที่มีเป้าหมายร่วมกันอย่างชัดเจนประกอบไปด้วยบุคคลซึ่งมีภาระหน้าที่ประจำแผนกหรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดในหน่วยงานหรือมีความเชี่ยวชาญในด้านที่แตกต่างกัน สมาชิกในทีมจะใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะตนที่จำเป็นต่อการทำงานและผสมผสานความคิดในทางสร้างสรรค์ให้เกิดองค์ความรู้ที่นําไปสู่การพัฒนาแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหาและประสานงานในโครงการเพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย

ทีมมีหลายประเภท เช่น ทีมตามสายงาน (Functional team) ทีมบริหารตนเอง (Self-managing team) แต่ละทีมมีลักษณะทั้งที่เหมือนและต่างกัน มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป การทำงานในรูปแบบข้ามสายงานนั้น พบข้อได้เปรียบต่อองค์การ หลายประการ คือ

1) เกิดความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน (Speed) ย่นระยะเวลาในการปฏิบัติงาน เนื่องจากสามารถทำงานได้หลายอย่างในเวลาเดียวกัน
2) สามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อน (Complexity) ได้ดี เนื่องจากได้รวบรวมสมาชิกที่มีความเชี่ยวชาญในหลายสาขา ทำให้เกิดข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันไป นําไปสู่การแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์
3) ตอบสนองความต้องการของลูกค้า (Customer focus) เนื่องจากประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลายด้าน ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าใจกระบวนการการทำงานทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ลดความผิดพลาดและสูญเสีย ทำให้สามารถผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในทีม ทำให้ทีมสามารถเรียนรู้และทราบถึงความต้องการของลูกค้าได้อย่างแท้จริง จึงสามารถผลิตสินค้าและบริการที่ทำให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจได้มากที่สุด ผ
4) เป็นแหล่งความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) สมาชิกในทีมมาจากหลายสาขา โอกาสที่จะทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์ต่อองค์การมากขึ้น
5) เป็นแหล่งของการเรียนรู้ในองค์การ (Organizational learning) สมาชิกที่มาจากหลายสาขาต่างพยายามเรียนรู้ทักษะต่างๆ ของสมาชิกในทีม เพื่อทำให้ตนเข้าใจกระบวนการทำงานทั้งหมดอย่างเป็นระบบในด้านเทคนิคและยังเรียนรู้ที่จะทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในทีมที่มีความแตกต่างกันในด้านวัฒนธรรมการทำงาน
6) เป็นจุดรวมของการติดต่อ (Single point of contact) เกิดการติดต่อสื่อสารในวงกว้าง เนื่องจากสมาชิกมาจากหลายสาขาที่เชี่ยวชาญต่างกันในองค์การ ทำให้สมาชิกรู้ในกระบวนการทำงานทั้งหมด ดังนั้น เมื่อเกิดปัญหาจึงสามารถหาสาเหตุของปัญหาได้

ระบบการทํางานสมัยใหม่นี้จะทําให้เกิดความคล่องตัวในการทํางาน ลดขั้นตอน ความยุ่งยาก ทําให้งานบรรจุตาม เป้าหมายและยังเป็นการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า ปิดจุดอ่อน สามารถแก้ไขปัญหาได้ทุกรูปแบบ ลดปัญหาการทํางานแบบแบ่งเป็นฝ่าย เนื่องจากทํางานเฉพาะของตนเอง ทําให้การประสานงาน ในแนวราบ ติดขัด เกิดปัญหา

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจรูปแบบการบริหารงานใหม่ที่เป็นลักษณะของการทำงานข้ามสายงานบทบาทและสมรรถนะ (competency) ที่จำเป็นของผู้บริหารทีมข้ามสายงาน

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมประยุกต์ใช้สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับใช้กับการทำงานเพื่อช่วยเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติงาน

รายละเอียดหลักสูตร

1.เรียนรู้ Cross-functional Management (CFM)

1.1 อะไรคือ CFM แตกต่างจากรูปแบบการบริหารอื่นอย่างไร
1.2 ทำไมองค์กรสมัยใหม่ต้องใช้ CFM
1.3 ประโยชน์ของ CFM
1.4 รูปแบบและลักษณะของ CFM พร้อมตัวอย่าง
1.5 ประเด็นท้าทายของ CFM
1.6 การกำหนดสถานะ (positioning) ของผู้จัดการในงานข้ามสายงานตามบริบทองค์กร อะไรเป็นทักษะที่จำเป็น

2.การออกแบบการบริหารงานข้ามสายงาน (Designing)  

2.1 การวิเคราะห์ความจำเป็น (need assessment)
2.2 การกำหนดภารกิจ
2.3 ใครเกี่ยวข้อง ใครควรจะเข้ามาร่วมจะออกแบบและจัดโครงสร้างงานข้ามสายงานอย่างไรให้ราบรื่น

3.แนวทางการจัดการการบริหารข้ามสายงาน (managing)

3.1 การใช้เครื่องมือเพื่อการประสานงาน (coordination tools)
3.2 การสร้างอิทธิพลโดยไม่ใช่อำนาจ (influence without authority)
3.3 การสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ (trust)
3.4 สื่อสารอย่างไรให้คนร่วมมือ
3.5 การลดความขัดแย้งแบบที่จะทำงานประสิทธิภาพการทำงาน

ติดต่อสอบถาม