coaching and mentor

coaching and mentor

ชื่อหลักสูตร coaching and mentor
หลักการและเหตุผล
coach and mentor แบ่งเป็น 2 คำ คือ การชี้แนะหรือ coaching เป็นการช่วยเหลือบุคคลหรือผู้รับการชี้แนะจากผู้ชี้แนะบนพื้นฐานของการปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ชี้แนะและผู้รับการชี้แนะ มีเป้าหมายเพื่อการส่งเสริมผลการปฏิบัติและความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคล โดยการให้ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) รวมทั้งการใช้เทคนิคต่างๆ เช่น การจูงใจ การใช้คำถามและการเตรียมความพร้อมให้ผู้รับการชี้แนะมีการปรับตัวให้เข้ากับงาน ซึ่งการให้บุคคลค้นพบวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง การเสริมพลังอำนาจ (empowerment) เป็นการช่วยค้นหาพลังในตัวบุคคล เป็นกระบวนการที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาวิชาชีพ

coaching หมายถึง การชี้แนะลูกน้องของตนเอง การชี้แนะเป็นเทคนิคหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรหรือลูกน้องของตน ทั้งนี้จะเรียกผู้ชี้แนะว่า “coach” โดยปกติผู้เป็น Coach สามารถเป็นได้ทั้งผู้บริหารระดับสูง (Top Management level) เช่น ผู้อำนวยการระดับกลาง (Middle Management level) เช่น ผู้จัดการฝ่ายและระดับต้น (Low Management level) เช่น หัวหน้างาน ส่วนผู้ถูกชี้แนะ โดยปกติจะเป็นลูกน้องที่อยู่ภายในทีมหรือกลุ่มงานเดียวกันเรียกว่า coachee

การชี้แนะจัดได้ว่าเป็นกระบวนการหนึ่งที่หัวหน้าใช้เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาลูกน้องให้มีความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skills) และคุณลักษณะเฉพาะตัว (Personal Attributes) ในการทำงานนั้นๆ ให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดขึ้น ซึ่งเป็นเป้าหมายหรือผลงานที่หัวหน้างานต้องการหรือคาดหวังให้เกิดขึ้น (Result-Oriented) โดยจะต้องตกลงและยอมรับร่วมกัน (Collaborative) ระหว่างหัวหน้างานและลูกน้อง

นอกจากนี้ การชี้แนะยังถือเป็นรูปแบบของการสื่อสารอย่างหนึ่งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการระหว่างหัวหน้าและลูกน้องหรือเรียกว่าการสื่อสารแบบสองทาง (Two Way Communication) ที่หัวหน้างานใช้ในการแจ้ง/หรือชี้แจงและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูกน้องให้เตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นได้อยู่ตลอดเวลาและรับฟังสิ่งที่คาดหวัง ความต้องการของลูกน้องและเป็นช่องทางในการทำงาน รวมทั้งเป็นโอกาสอันดีที่หัวหน้างานและลูกน้องร่วมกันแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงาน

Mentor คือ ผู้ที่ส่งเสริมบุคลากรได้พัฒนา มีความสัมพันธ์ลักษณะพลวัต (Dynamics) มีความผูกพัน

กัน ช่วยเหลือในการพัฒนาทางวิชาชีพ ผ่านเครือข่ายทางอาชีพระบบพี่เลี้ยง เป็นแนวคิดที่เกิดขึ้นตามความต้องการที่จะพัฒนาบุคคลให้มีความสามารถสูงขึ้น เมื่อประมาณยี่สิบกว่าปีมาแล้ว ประเทศที่เริ่มต้นอย่างจริงจังกับการใช้แนวคิดดังกล่าวคือ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อศึกษาความเป็นมาของคาว่าพี่เลี้ยงหรือ Mentor จะพบว่าเป็นชื่อของบุคคลหนึ่งที่ดูแลฟูมฟัก สั่งสอน ตลอดจนให้คำแนะนำต่างๆ แก่ลูกชายของกษัตริย์กรีกยุคโบราณจนเป็นที่พอใจของกษัตริย์องค์นั้นเป็นอย่างมาก ต่อมา เมื่อมีการบัญญัติคาศัพท์ต่างๆ ในยุคกรีกโบราณ ชื่อของ Mentor จึงถูกบัญญัติ ขึ้นให้เป็นคำศัพท์โดย American Heritage Dictionary ให้ความหมายของ Mentor ว่า A wise and trusted counselor or teacher

ระบบพี่เลี้ยงถูกนำไปใช้ในการพัฒนาองค์กรต่างๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคคลในองค์กร โดยความหมายของระบบพี่เลี้ยงที่ใช้ คือ เป็นกระบวนการที่องค์กรจัดให้บุคลากรที่มีประสบการณ์มากกว่าทำหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรที่มีประสบการณ์น้อยกว่าให้สามารถทำงานได้ดี มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยองค์กรจะเรียกบุคลากรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวว่า menter และเรียกบุคลากรที่ได้รับการพัฒนาว่า mentee ทั้งนี้ บทบาทของพี่เลี้ยงประกอบด้วยการฝึกอบรม (coaching) การให้คำปรึกษา (counseling) และการสนับสนุน (sponsoring) กล่าวคือ พี่เลี้ยงที่มีบทบาทเป็นครูฝึกจะมีหน้าที่ในการพัฒนาบุคลากรใหม่ เป็นผู้อธิบายเกี่ยวกับปัญหาในการทำงานและวิธีการแก้ไข พี่เลี้ยงที่มีบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษามีหน้าที่ในการให้คำแนะนำและช่วยให้บุคลากรใหม่มีความมั่นใจในตนเองสูงขึ้น ส่วนพี่เลี้ยงที่มีบทบาทในฐานะผู้สนับสนุนจะมีหน้าที่ช่วยให้บุคลากรใหม่มีขอบข่ายงานที่ชัดเจน ทำให้บุคลากรใหม่สามารถผ่านการประเมินผลได้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ และเข้าใจบทบาทของการเป็นโค้ช (Coach) ที่ถูกต้อง

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และมีทักษะความสามารถในการสอนงาน
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถวางแผนการสอนงานและนำทีมให้พัฒนาทักษะได้
4.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมรู้เทคนิค ศาสตร์และศิลป์ในการสอนงานให้ได้ผลงานจริงในองค์กร

รายละเอียดหลักสูตร

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ทักษะการสอน

1.1 ความหมายของการชี้แนะ (Coaching)
1.2 แนวคิดเกี่ยวกับการชี้แนะ
1.3 บทบาทหน้าที่ของผู้เป็น Coach
1.4 แนวทาง หลักปฏิบัติและวิธีการในการเป็น Coach
1.5 ประโยชน์จากการชี้แนะ (Coaching)

หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ทักษะการติดตามงาน

2.1 ความเป็นมาและความหมายของการเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring)
2.2 บทบาทหน้าที่ของพี่เลี้ยง Mentor
2.3 รูปแบบของพี่เลี้ยง (Mentoring)
2.4 ประโยชน์ของพี่เลี้ยง (Mentoring)
2.5 ความแตกต่างของ Coaching กับ Mentoring

หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ทักษะการสอนและติดตามงาน

3.1 ทักษะการฟังอย่างลึกซึ้ง
3.2 ทักษะการตั้งคำถาม
3.3 ทักษะการสานสัมพันธ์
3.4 ทักษะการตั้งเป้าหมาย
3.5 ทักษะการให้ข้อมูลป้อนกลับ

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การฝึกปฏิบัติ (Workshop)

4.1 แนวคิดการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2
กิจกรรมเสริมสร้างทัศนคติที่ดีในการ Coach
4.3
กิจกรรมการฝึกปฏิบัติ
4.4
กิจกรรมการวางแผนการ Coach
4.5
กิจกรรม Workshop