ชื่อหลักสูตร Kaizen เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
หลักการและเหตุผล
Kaizen ไคเซ็นเป็นที่รู้จักกันอย่างเเพร่หลายในหลายๆ ประเทศ เนื่องจากกิจกรรมไคเซ็นเป็นกิจกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหากระบวนการทำงานและเสริมสร้างพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้มีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มขึ้น จึงทำให้องค์กรมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
จุดเริ่มต้นของคำว่า “ไคเซ็น” มาจากคำว่า “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” (Continuous Improvement) เป็นปรัชญาด้านการจัดการที่มีพื้นฐานบนข้อเสนอแนะของพนักงาน ซึ่งถูกพัฒนาขึ้นในสหรัฐอเมริกา ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 โดยในตอนนั้นญี่ปุ่นได้มีการใช้เครื่องมืออยู่แล้ว คือ วงล้อคุณภาพ (Quality Circles) ดังนั้น ญี่ปุ่นจึงนำเอาแนวคิดทั้ง 2 อย่างรวมเข้าไว้ด้วยกัน จึงถือกำเนิดเป็น ไคเซ็นมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับในประเทศไทยมีการนำกิจกรรมไคเซ็นมาใช้ในองค์กรต่างๆ นานพอสมควร แต่ส่วนมากพบว่า ไม่ประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ โดยสาเหตุหลักมาจากไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในองค์กรและถูกต่อต้าน เนื่องจากไม่ชอบความเปลี่ยนแปลงที่มากับไคเซ็น ในอีกมุมหนึ่ง แนวคิดนี้ได้รับผลตอบรับจากโรงงานในฐานะเครื่องมือช่วยในการบริหารให้ประสบผลสำเร็จ สามารถลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ เช่น ลดเวลาการทำงาน ลดต้นทุนและทำให้เกิดแนวคิดสร้างสรรค์ในการปรับปรุงวิธีการคิด วิธีการทำงาน เป็นต้น
ไคเซ็นเป็นภาษาญี่ปุ่น แปลว่า “การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง” ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่บุคลากรในองค์กร ไปจนถึงกระบวนการผลิต เพื่อทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพดีขึ้น แต่การทำไคเซ็นไม่ใช่การเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด แต่เป็นการปรับปรุงเฉพาะจุดที่มีปัญหาเท่านั้น โดยรักษาวิธีการทำงานแบบเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในกระบวนการทางานตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูงไปจนถึงพนักงานทุกคน
การที่จะนำไคเซ็นเข้ามาใช้ในการแก้ปัญหาได้จะต้องมีเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วย เช่น 5W 1H, ECRS เป็นต้น เพราะเครื่องมือเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกื้อหนุนแนวความคิดไคเซ็นให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น จากเครื่องมือที่กล่าวมานี้สามารถนำไปใช้ในโรงงาน เพื่อทำให้สินค้ามีคุณภาพ ลดของเสียที่จะเกิดขึ้นจากการผลิต ส่งผลให้ต้นทุนลดลง เช่น บริษัทโตโยต้าที่นำเอาไคเซ็นเข้ามาใช้แล้วประสบความสำเร็จ เป็นต้น ส่วนการนำไคเซ็นไปใช้ในองค์กร เพื่อให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้สามารถบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ตัวอย่างเช่น คลังเครื่องแต่งกาย กรมยุทธบริการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทยและบริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด เป็นต้น
ดังนั้น หากองค์กรต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพและการเพิ่มผลผลิตอย่างต่อเนื่อง (Continuous Improvement) ไคเซ็น ถือเป็นเครื่องมือตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยมเนื่องจากได้มีการพิสูจน์แล้วว่า เป็นเครื่องมือที่สามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร (competitive advantage) และยังส่งเสริมพฤติกรรมการทำงาน (working behavior) ของผู้ปฏิบัติในทิศทางที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อองค์กรและตัวของผู้ปฏิบัติงานเองอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้พนักงานได้เข้าใจถึงความสำคัญและประโยชน์ของการทำไคเซ็น
2.เพื่อให้พนักงานมีความรู้และได้มีโอกาสฝึกฝนเทคนิคต่างๆที่สามารถนำไปปรับปรุงงานในวิถีของไคเซ็นอย่างมีประสิทธิภาพ
3.เพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการทำงานที่ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มจากจุดเล็กๆน้อยๆ
รายละเอียดหลักสูตร
1.1 ไคเซ็นคืออะไร
1.2 ทำไมต้องไคเซ็น
1.3 เริ่มไคเซ็นจากจุดไหน
1.4 เทคนิคที่สนับสนุนการนำไคเซ็นไปปฏิบัติอย่างได้ผล
1.4.1 5 why
1.4.2 Visualization (การทำให้มองเห็น)
1.4.3 ECRRS (การจัดระเบียบใหม่)
1.5 7 wastes analysis (การวิเคราะห์ส่วนสูญเปล่า)
1.6 การพัฒนาไคเซ็นให้ยั่งยืนในหน่วยงาน / องค์กร
1.7 ตัวอย่าง / กรณีศึกษา
1.8 Workshop