สมอง เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาท บรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะ โดยทั่วไปมีน้ำหนักประมาณ 1.4 กิโลกรัม เชลล์ประสาทมากกว่าร้อยละ 90 ของทั้งหมดบรรจุอยู่ในกะโหลกศีรษะ (ซึ่งสามารถป้องกันการกระทบกระเทือนได้ดี) สัตว์ที่มีอัตราส่วนระหว่างน้ำหนักสมองต่อน้ำหนักตัวมาก มีแนวโน้มที่จะทำให้ฉลาดและเรียนรู้ได้ดีกว่า
สมอง 2 ซีก
สมองส่วนหน้าสามารถแบ่งได้เป็น 2 ซีก คือ สมองซีกซ้ายกับสมองซีกขวา
โดยสมองใหญ่ซีกซ้าย จะควบคุมร่างกายซีกขวา สมองใหญ่ซีกขวาจะควบคุมร่างกายซีกซ้าย สมองซีกซ้าย ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์แยกแยะองค์ประกอบให้แยกส่วนลง ส่วนสมองซีกขวา คิดแบบองค์รวมและสร้างสรรค์ ด้านซ้ายคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผล ทำให้เกิดความรู้ใหม่ๆ ได้ ส่วนด้านขวาสามารถหยั่งรู้ได้ด้วยตนเอง ด้านซ้ายเกี่ยวกับความสามารถด้านภาษา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ในขณะที่ความสามารถ เกี่ยวกับศิลปะและดนตรีนั้นใช้สมองซีกขวา
นอกจากนี้แล้ว เมื่อเราทำงานหรืออ่านหนังสือ สมองซึกซ้าย และขวานี้ยังทำงานแตกต่างกัน สามารถทำให้เกิดการทำงานผสมผสานกันระหว่างสมองซีกซ้ายกับซีกขวา ซึ่งจะช่วยให้เราจดจำได้ดีขึ้น เนื่องจากได้ใช้สมองอย่างคุ้มค่า คือ สมองทั้งสองซีกในการทำความเข้าใจและจดจำ ใช้ซีกขวาช่วยจดจำภาพ สี หรือสัญลักษณ์ และใช้สมองซีกซ้ายอธิบายเรื่องราวต่างๆ ได้อย่างมีเหตุมีผล
สมอง 3 ชั้น
หากเปรียบเทียบสมองของมนุษย์กับสมองของสัตว์ประเภทอื่นๆ ตั้งแต่สัตว์ชั้นต่ำจนถึงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เชื่อว่า มนุษย์ได้วิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน พัฒนามาเป็นลิง ก่อนที่จะมาเป็นมนุษย์ ตามลำดับ โดยสามารถเปรียบให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน ด้วยการแบ่งสมองออกเป็น 3 ชั้น
สมองตะกวด
สมองชั้นที่ 1 เรียกว่า อาร์เบรน (R-brian) หรือ เรปทิเลียนเบรน (Reptilian brain) แปลว่ามาจาก สัตว์เลื้อยคลาน
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ประเวศ วะสี ท่านเรียกว่า สมองตะกวด สมองที่อยู่ที่แกนสมองหรือก้านสมองมีหน้าที่ขั้นพื้นฐานที่ง่ายที่สุดเกี่ยวกับการเต้นของหัวใจการ หายใจ ประสาทสัมผัสและสั่งงานให้กล้ามเนื้อมีการเคลื่อนไหว ปราศจาก อารมณ์เหตุผล เช่น สัญชาตญาณการมีชีวิตอยู่เพื่อความอยู่รอด โดยการหากิน ต่อสู้ วิ่งหนี และสืบพันธุ์ เป็นต้น และทำหน้าที่เก็บข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้จากสมองหรือระบบประสาทส่วนถัดไป เพื่อสั่งการระบบตอบสนองอัตโนมัติต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
สมองแมว
สมองชั้นที่ 2 เรียกว่า ลิมบิกเบรน (Limbic brain) หรือ โอลด์แมมมาเลียนเบรน (Old Mammalian brain) คือ สมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยเก่า เราจะเรียกว่า สมองแมว เพราะเมื่อเทียบเคียงหน้าที่แล้วจะคล้ายๆกับพฤติกรรมของแมว สมองส่วนนี้จะทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำ การเรียนรู้ พฤติกรรม ความสุข อารมณ์ขั้นพื้นฐานความรู้สึก เช่น ชอบ ไม่ชอบ ดี ไม่ดี โกรธหรือมี ความสุข เศร้าหรือสนุกสนาน รักหรือเกลียด สมองส่วนลิมบิก จะทำให้คนเราปรับตัวได้ดีขึ้น มีความฉลาดมากขึ้นและสามารถเรียนรู้โลกได้กว้างขึ้น เป็นสมอง ส่วนที่สลับซับซ้อนมากขึ้น ทำให้คนเรามีความสามารถในการปรับตัว ปรับพฤติกรรมให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น ถ้าหากมีสิ่งกระตุ้นที่ไม่ดีเข้ามา สมองส่วนนี้จะแปลข้อมูลออกมาเป็นความเครียดหรือไม่มีความสุข
สมองมนุษย์
สมองชั้นที่ 3 เรียกว่า นิวแมมมาเลียนเบรน (New Mammalian brain) หรือสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสมัยใหม่ หรือสมองของมนุษย์ที่สมบรูณ์ เป็นสมองใหญ่ทั้งหมดโดยเฉพาะบริเวณพื้นผิว ของสมองที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับความรู้สึกนึกคิด การเรียนรู้สติสัมปชัญญะ และรายละเอียดที่สลับซับซ้อน มีขนาดใหญ่กว่าสมองอีก 2 ส่วนถึง 5 เท่าด้วยกัน สมองส่วนนี้เป็นศูนย์รวมเกี่ยวกับความฉลาด ความคิดสร้างสรรค์ การคำนวณ ความรู้สึก เห็นอกเห็นใจผู้อื่น ความรักความเสน่หาเป็นสมองส่วนที่ทำ ให้มนุษย์รู้จักคิด หาหนทางเอาชนะธรรมชาติหรือควบคุมสิ่งแวดล้อมในโลกนี้
รู้จัก “สมอง” จะได้ “พัฒนาสมอง” ได้