เทคนิคบริหารความขัดแย้ง

เทคนิคบริหารความขัดแย้ง

ชื่อหลักสูตร เทคนิคบริหารความขัดแย้ง
หลักการและเหตุผล

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันเป็นระบบสังคมที่ต้องมีการพึ่งพากัน เพื่อสร้างความร่วมมือในการแก้ปัญหาร่วมกัน ซึ่งประกอบไปด้วยความสัมพันธ์ที่เกิดระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคลหรือองค์กร ซึ่งประกอบกันเป็นโครงสร้างของสังคม เริ่มต้นจากครอบครัวที่ถือเป็นหน่วยย่อยของสังคม ขยายไปสู่ความสัมพันธ์ของบุคคลในหน่วยที่ใหญ่ขึ้น ยิ่งสังคมมีขนาดใหญ่ขึ้นเพียงใด โอกาสที่จะเกิดความขัดแย้ง ย่อมมีเพิ่มมากขึ้นเพียงนั้น โดยเฉพาะความขัดแย้งในองค์กรหรือสถานที่ทำงาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กรอาจเป็นได้ทั้งด้านที่มีประโยชน์และด้านที่ไม่มีประโยชน์

การบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์ พร้อมที่จะเผชิญความขัดแย้ง และพลิกวิกฤตนั้นให้เป็นโอกาสในการนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย การบริหารความขัดแย้งในโลกปัจจุบันที่ก้าวเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทั้งวิถีการดำรงชีวิต ลักษณะการแสดงออกของพฤติกรรม ทัศนคติ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลอันนำมาซึ่งความหลากหลายของบุคคล อันเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่รวดเร็วส่งผลกระทบต่อองค์กรและบุคลากรในหลายด้าน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความขัดแย้งโดยเฉพาะในองค์กรที่มีความหลากหลายและความแตกต่างระหว่างบุคคลสูงจึงเป็นความท้าทายของผู้บริหารในศตวรรษที่ 21 จะต้องบริหารความขัดแย้ง โดยนำการเปลี่ยนแปลงมาสู่องค์กรเพื่อการบรรลุเป้าหมาย

ความขัดแย้งของบุคคลเกิดจากการที่บุคคลต้องตัดสินใจเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่การเลือกนั้นอาจเต็มใจหรือไม่ก็ตาม และการเลือกนั้น ไปขัดขวางหรือสกัดกั้นการกระทำของอีกฝ่ายหนึ่งในการที่จะบรรลุเป้าหมาย อาจกล่าวได้ว่า ความขัดแย้งเป็นสถานการณ์หรือการกระทำของฝ่ายหนึ่งที่ไปขัดขวางหรือสกัดกั้นอีกฝ่ายหนึ่ง ทาให้เกิดความคิดเห็นที่แตกต่าง ซึ่งความคิดเห็นที่ไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกันนี้ทำให้เกิดความกดดันและความคับข้องใจของอีกฝ่ายหนึ่ง ความขัดแย้งจะมีลักษณะเป็นคนละฝ่ายเพื่อทำการต่อต้านขัดขวางสกัดกั้นไม่ให้อีกฝ่ายหนึ่งสามารถบรรลุผลตามเป้าหมายได้ ในการบริหารความขัดแย้งนั้น สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารความขัดแย้งมีแนวคิดไว้หลากหลายวิธี เช่น การหลีกเลี่ยง(Avoiding) การใช้อำนาจ (Authoritative command) การยอมให้ (Accommodation) การประนีประนอม (Compromising) การใช้หลักเหตุผล (Reasoning) การร่วมมือ (collaboration) เป็นต้น

เทคนิคบริหารความขัดแย้ง จึงเป็นการเรียนรู้การกระทำที่ไม่ลงรอย ขัดขืนหรือคัดค้านกัน ความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันระหว่างกลุ่มมนุษย์ แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้งวิธีการหนึ่ง คือ สันติวิธี สันติวิธี  คือ มุมมองในการจัดการกับความขัดแย้งที่ยึดมั่นในวิถีแห่งสันติ โดยปฏิเสธวิธีการใช้ความรุ่นแรงทุกรูปแบบ ซึ่งรวมถึงการไม่ตอบโต้อีกฝ่ายโดยใช้ความรุนแรง แม้ว่าจะถูกกระทำด้วยความรุนแรง แม้ว่าจะถูกกระทำด้วยความรุนแรงก็ตาม

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ตลอดจนมีทัศนคติที่ถูกต้องและมีพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิผล

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมพัฒนาทักษะในการแก้ไขความขัดแย้งที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพทันทีภายหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมและสามารถนำประยุกต์ ใช้ในชีวิตและการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมแลกเปลี่ยนประสบการณ์การแก้ปัญหาความขัดแย้งร่วมกัน ระหว่างผู้เข้าอบรม ด้วยกันและผู้เข้าอบรมกับวิทยากร

รายละเอียดหลักสูตร
1.พื้นฐานสำคัญของการบริหารจัดการความขัดแย้ง

– ทัศนะเกี่ยวกับความขัดแย้ง
– ความขัดแย้งและความร่วมมือ
– ข้อดี ข้อเสีย ของความขัดแย้ง
– ประเภทของความขัดแย้ง
– ที่มาของความขัดแย้ง
– ผลที่ตามมาของความขัดแย้งที่ให้ผลดี ผลเสีย

2.องค์ประกอบเกื้อหนุนเพื่อบริหารความขัดแย้งอย่างมีประสิทธิภาพ
– การสื่อสารระหว่างบุคคล
– การสื่อสารแบบเข้ากันได้ดี แบบขัดแย้ง และแบบซ่อนเร้น
– ความฉลาดทางอารมณ์ของบุคคลกับความขัดแย้ง

3.หลักสำคัญอันเป็นวิธีการแก้ไขความขัดแย้ง
หลักการพื้นฐาน 5 วิธี ได้แก่
– การหลีกเลี่ยง (Avoidance)
– การปรองดอง (Accommodation)
– การประนีประนอม (Compromise)
– การแข่งขัน (Competition)
– การร่วมมือกัน (Collaboration)

หลักแห่งสันติวิธี
– เจรจาต่อรอง
– การไกล่เกลี่ย

4. จิตวิทยาและทัศนะคติเชิงรุกที่เป็นประโยชน์ต่อการบริหารความขัดแย้ง
– ค่านิยมร่วม
– หลักการ High Road
– อำนาจในการตัดสินใจ
– เข้าใจผู้อื่นก่อนแล้วจึงให้ผู้อื่นเข้าใจเรา
– คิดแบบ ชนะ ชนะ

5. Work Shop