เทคนิคการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

เทคนิคการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

ชื่อหลักสูตร เทคนิคการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
หลักการและเหตุผล

สังคมในยุคศตวรรษที่ 21 เป็นสังคมแห่งการเปลี่ยนแปลงทางวิทยาการและเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว คนในสังคมจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อก้าวทันและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง การเตรียมความพร้อมคนให้มีศักยภาพต้องมีการวิเคราะห์ความสามารถที่จําเป็นกับการมีชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเข้มแข็ง พร้อมเผชิญกับสภาพแวดล้อมและปัญหาที่หลากหลาย ดังแนวคิดที่กล่าวว่า การพัฒนาคนให้มีความสามารถอยู่ในสังคมอย่างสร้างสรรค์และมีความสุขจําเป็นได้รับการพัฒนาทักษะพื้นฐานสำหรับอนาคต ได้แก่ ทักษะการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดวิจารณญาณ ทักษะทางสังคม ทักษะการคิดสร้างสรรค์และทักษะการแก้ปัญหา และในขณะเดียวกันธรรมชาติของมนุษย์ตามแนวคิดของมาสโลว์ (Maslow) มีความต้องการได้รับการยกย่องและยอมรับในสังคมซึ่งถือเป็นความต้องการพื้นฐานของบุคคลผู้ที่ประสบผลสำเร็จ การศึกษาเพื่อการสร้างความพร้อมของคนให้มีชีวิตที่ประสบผลสำเร็จจำเป็นต้องอาศัยความสามารถที่สำคัญ คือ ความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอย่างสร้างสรรค์ ซึ่งเชื่อมั่นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญทำให้ชีวิตประสบผลสำเร็จที่ดีกว่า

การเรียนรู้จึงเป็นหลักสำคัญของการพัฒนาคนให้มีความสามารถดังกล่าวเพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตที่เข้มแข็งพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้เพียงแค่ให้อ่านออกเขียนได้ และสามารถสื่อสารกันได้ ไม่เป็นการเพียงพอในยุคปัจจุบัน ดังนั้น การเรียนจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น การคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหา

จากที่กล่าวมาแสดงให้เห็นว่า การคิดแก้ปัญหาเฉพาะเป็นทักษะที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาด้านสติปัญญาเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของบุคลากร พฤติกรรมการเรียนรู้ของพนักงานในองค์กรส่วนมากมุ่งเน้นจดจําเนื้อหาและเน้นการปฏิบัติตามตัวอย่าง มุ่งสอนให้พนักงานสร้างผลผลิตตามดัชนีชี้วัด มากกว่าสร้างการเรียนรู้ให้พนักงานรู้จักคิดอย่างมีเหตุผล วิเคราะห์วิจารณ์ หรือแก้ปัญหาจากการมองเห็นภาพรวม

เทคนิคการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ได้อย่างทันท่วงที โดยการคิดหาวิธีแก้ไขปัญหานั้น จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ ประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาและความคิดเชิงบวกอย่างเต็มที่ เพื่อหาวิธีที่มีความแตกต่างและหลากหลาย โดยการวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง พยายามใช้ความคิดสร้างสรรค์เฟ้นหาวิธีแก้ไขให้เกิดผลเสียต่อตนเอง ต่อเพื่อร่วมงานและต่อหน่วยงานราชการให้น้อยที่สุด

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้หลักการในการแก้ไขปัญหาเฉพาะได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมบูรณาการองค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาระหว่างกัน
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมนำองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้

รายละเอียดหลักสูตร
ส่วนที่ 1 เข้าใจ (ภาคทฤษฎี จำนวน 1 ชั่วโมง)

1.1) ปัญหาคืออะไร
1.2) พัฒนากระบวนความคิด
– ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity Thinking)
– ความคิดเชิงระบบ (Systematic Thinking)
– ความคิดเชิงวิกฤติ (Critical Thinking)

1.3) เครื่องมือในการแก้ไขปัญหา
– สุนทรียสนทนา
– ชุมชนนักปฏิบัติ
– การบริหารความเสี่ยง
– การจัดการความรู้ในองค์กร

1.4) พุทธวิธีการแก้ไขปัญหา
– อริยสัจ 4
– สัมมาทิฐิ
– โยนิโสมนสิการ
– กัลยาณมิตร

ส่วนที่ 2 เข้าถึง
2.1) ความรู้ 5 ขั้น
2.2) 5 Mind in the future
2.3) การบริหารการเปลี่ยนแปลง
2.4) สติปัฏฐาน 4

ส่วนที่ 3 เข้าถึง (ภาคบรรยาย จำนวน 1 ชั่วโมง)
3.1) จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ
3.2) ในหลวง ต้นแบของนักแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

ติดต่อสอบถาม