เทคนิคการเป็นผู้ตามที่ดี

เทคนิคการเป็นผู้ตามที่ดี

ชื่อหลักสูตร เทคนิคการเป็นผู้ตามที่ดี
หลักการและเหตุผล

เทคนิคการเป็นผู้ตามที่ดี เป็นปัจจัยหนึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร คือ ภาวะผู้ตาม (Followership) ที่มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ (Leadership) เพราะต่างเป็นบทบาทพื้นฐานของบุคคลที่สลับสับเปลี่ยนกันตามสถานกรณ์อยู่ตลอดเวลา ฃ

กล่าวคือ มนุษย์ทุกคนที่เป็นผู้นำล้วนแต่เคยเป็นผู้ตามมาก่อน โดยความจริงคนส่วนใหญ่แม้ดำรงตำแหน่งที่มีอำนาจสูง แต่ก็ยังมีบุคคลที่อยู่ในฐานะเป็นนายหรือผู้บังคับบัญชาเหนือตนขึ้นไปอีกเช่นกัน จึงกล่าวได้ว่า คนเรามีโอกาสในการเป็นผู้ตามได้บ่อยมากกว่าเป็นผู้นำหรือก่อนเป็นผู้นำคงต้องเคยเป็นผู้ตามมาก่อน

การบริหารจัดการยุคปัจจุบัน องค์กรที่มีการพัฒนาจะประสบความสำเร็จ และมีผลการดำเนินงานที่เป็นเลิศ จำเป็นต้องอาศัยความรู้ความสามารถของบุคลากร 2 กลุ่ม คือ (ผู้บริหารหรือผู้บังคับบัญชา) และผู้ตาม คือ (ผู้ปฏิบัติงาน) โดยความเป็นจริงแล้วจะต้องอยู่คู่กันเสมอ เพราะมีความจำเป็นต่อการทำงาน ซึ่งผู้ตามนับว่าเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการร่วมมือและประสานงาน เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน

ผู้ตามมีความสำคัญไม่น้อยกว่าผู้นำ เพราะเป็นแรงขับเคลื่อนความสำเร็จในองค์กร ดังนั้น องค์กรจำเป็นต้องสร้างผู้ตามที่เก่งที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในเวลาเดียวกัน และยังสอดคล้องกับงานวิจัยของเคลลีได้ทำการศึกษาวิจัย พบว่า ความสำเร็จขององค์กร 90% เกิดจากการทำงานของผู้ตามเป็นหลัก ส่วนอีก 10% เป็นผลงานของผู้นำ

จะเห็นว่า ไม่เพียงแต่ผู้นำเท่านั้นที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กร แต่ผู้ตามมีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์กรไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้นำเช่นกัน ซึ่งความสำเร็จในการพัฒนาองค์กรหรือสัมฤทธิ์ผลในการปฏิบัติงานของหน่วยงานนั้น โดยเฉพาะในส่วนของภาครัฐนั้นย่อมส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาประเทศ และผู้ที่ได้รับผลประโยชน์ที่แท้จริง คือ ประชาชน เนื่องจากปัจจุบัน ประชาชนมีความคาดหวังจากการรับบริการจากรัฐมากขึ้นและก่อให้เกิดการปรับตัวและการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในหลายๆ มิติ

การบริหารจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญกับความท้าทายจากกระแสโลก โดยปัจจัยสำคัญที่จะเผชิญการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายดังกล่าว ได้แก่ คุณภาพของคนจัดการ ซึ่งต้องการความรวดเร็วการบริหารองค์กร ไม่ว่าจะเป็นส่วนภาคราชการรัฐวิสาหกิจหรือเอกชนจำเป็นต้องอาศัยผู้ตามหรือผู้ปฏิบัติงานในการแสดงบทบาทสร้างสรรค์หรือผลักดันนวัตกรรมใหม่ๆ ขององค์กรให้เท่าทันและรองรับการเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วนี้ได้ โดยผู้ตามหรือผู้ปฏิบัติงานจะต้องเป็นผู้ทำหน้าที่นำพาองค์การไปตามวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกล พันธกิจ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่ ชัดเจนเพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ซึ่งภาวะผู้ตามจึงย่อมเป็นประเด็นที่มีความสำคัญต่อการนำพาพัฒนาองค์กรให้มีความเจริญต่อไป ผลการศึกษาหนึ่ง พบว่า ภาวะผู้ตามของข้าราชการชั้นสัญญาบัตรในสำนักนโยบายและแผนกระทรวงกลาโหม ตามแนวคิดรูปแบบผู้ตามของเคลลี่ ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการส่วนใหญ่เป็นผู้ ตามแบบเอาตัวรอด (pragmatic) รองลงมาเป็นผู้ตามแบบมีประสิทธิผล (effective follower) ผู้ตามแบบปรับตาม (conformist) ตามลำดับ ที่น่าสนใจ คือ ผู้ตามที่มีการศึกษาในระดับสูงกว่ามีแนวโน้มเป็นผู้ตามที่มีประสิทธิผลมากกว่าผู้ตามที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่า

นอกจากนี้ Robert E. Kelly ได้ทำการศึกษาวิจัยและพบว่า ความสำเร็จขององค์กร 90% เกิดจากการทำงานของผู้ตาม ส่วนอีก 10% ที่เหลือเป็นผลงานของผู้นำ จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่ผู้นำเท่านั้นที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การ แต่ผู้ตามก็มีความสำคัญต่อความสำเร็จขององค์การไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าผู้นำเช่นกัน หากองค์กรพัฒนาผู้ตามให้เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้ตามที่ดีย่อมจะสร้างประโยชน์และความสำเร็จขององค์กร ลดความขัดแย้งระหว่างหัวหน้างานกับผู้ใต้บังคับบัญชา และเพื่อให้องค์กรทราบถึงแนวทางการพัฒนาหัวหน้างานที่พึงประสงค์ต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ได้เพิ่มพูนความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาทักษะเกี่ยวกับการเป็นผู้ตามที่ดี

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรม สามารถนำองค์ความรู้ ความเข้าใจ และทักษะเกี่ยวกับการเป็นผู้ตามที่ดีไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้

รายละเอียดหลักสูตร
1.ความสำคัญของผู้ตามและภาวะผู้ตาม

2.คุณลักษณะพฤติกรรมของผู้ตาม 5 แบบมีดังนี้
– ผู้ตามแบบห่างเหิน
– ผู้ตามแบบปรับตาม
– ผู้ตามแบบเอาตัวรอด
– ผู้ตามแบบเฉื่อยชา
– ผู้ตามแบบมีประสิทธิผล

3.แนวทางการพัฒนาศักยภาพของผู้ตาม
– มีความสามารถในการบริหารจัดการตนเองได้ดี
– มีความผูกพันต่อองค์การต่อวัตถุประสงค์
– ทำงานเต็มศักยภาพ และสุดความสามารถ
– มีความกล้าหาญ  ซื่อสัตย์  และน่าเชื่อถือ

4.พัฒนาภาวะผู้ตามด้วย 7 อุปนิสัย
– หลักธรรมะสำหรับผู้ตาม
– ความคาดหวังของผู้ตามที่มีต่อผู้นำ

ติดต่อสอบถาม