สมองสองโหมด ในร่างกายของเรามีระบบประสาทที่สามารถตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ รอบตัว แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ระบบประสาทส่วนกลาง ประกอบด้วยสมอง (Brain) ไขสันหลัง (Spinal cord) และเซลล์ประสาท (Nervous cell) ส่วนหนึ่ง และระบบประสาทรอบนอก ได้แก่ เส้นประสาททั้งหมดในร่างกายที่ใช้ในการรับรู้ ตลอดจนตอบสนองต่อสิ่งเร้า มีทั้งส่วนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของอำนาจจิตใจ และส่วนที่ทำงานอัตโนมัติซึ่งควบคุมด้วยสมองหรือไขสันหลังโดยตรง เช่น การเต้นของหัวใจ การกระตุกหนีเมื่อโดนไฟจี้ เป็นต้น
การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของระบบประสาทส่วนที่อยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจมี 2 ลักษณะ คือ
1) การตอบสนองแบบสู้หรือหนี (fight or flight response) หรือเรียกว่า โหมดปกป้อง สมองจะทำงานในระบบซิมพาเทติก (sympathetic system) ระบบนี้จะทำงานมากขึ้น เมื่ออยู่ในภาวะเครียด สมองจะตื่นตัว สมองจึงมักจดจำและทบทวนข้อมูลเชิงลบมากกว่าข้อมูลเชิงบวกเสมอ หรืออธิบายง่ายๆว่า หากเราใช้ระบบซิมพาเทติกในการดำเนินชีวิต ชีวิตของเราจะอยู่ในรูปแบบสัญชาตญาณปกป้องตนเองเสมอ แต่อย่างไรก็ตาม แม้ว่า ระบบนี้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกาย ความคิด หรือจนกระทั่งความสำเร็จในชีวิต แต่ก็เป็นกลไกสำคัญของการปกป้องชีวิตมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีชีวิตรอดปลอดภัยจากอันตราย และสภาพแวดล้อมที่เป็นพิษ
2) การตอบสนองแบบผ่อนคลาย (relaxation) เรียกว่า โหมดปกติ สมองจะทำงานในระบบพาราซิม พาเทติก (parasympathetic system) รายละเอียดการทำงานของทั้งสองระบบนี้มีประโยชน์กับมนุษย์ทั้งคู่ กล่าวคือ ระบบพาราซิมพาเทติกทำให้มนุษย์มีพลังในการทำงาน ค้นหาสิ่ง ใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรค์ผลงาน สามารถเดินไปสู่เป้าหมาย ค้นหาโอกาสใหม่ให้กับชีวิตของตนเองได้
การศึกษาด้านประสาทวิทยาสมัยใหม่ พบว่า มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้ดี เมื่อสมองทำงานในโหมดปกติ เมื่อรู้สึกสบาย ผ่อนคลาย นั่นคือ จะเรียนรู้ได้ดี เมื่อเรียนอย่างผ่อนคลาย เรียนอย่างมีความสุข แต่จะหยุดเรียนรู้ ถ้าอยู่ในโหมดปกป้อง
สมองสองโหมด การทำงานของสองโหมดนี้พอสรุปได้ว่า โหมดปกติ (ร่างกายอยู่ในสภาวะพัก สงบ ผ่อนคลาย) โหมดปกป้อง (ร่างกายอยู่ในภาวะเครียดห่อเหี่ยว) ร่างกายเจริญเติบโต หยุดการเจริญเติบโต ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ หยุดการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ พร้อมที่จะเรียนรู้ เปิดรับ มีพลัง สดชื่น สดใส หยุดการเรียนรู้ ไม่สดใส ไร้พลัง
เมื่อร่างกายอยู่ในสภาวะพัก สงบ ผ่อนคลาย ร่างกายจะเจริญเติบโต มีการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ส่งผลให้ร่างกายสดชื่น สดใส มีพลัง จิตใจสบายจะเปิดรับ พร้อมที่จะเรียนรู้ ตรงข้ามกับสภาวะที่ร่างกายเมื่ออยู่ในสภาวะเครียด ห่อเหี่ยว จมอยู่กับความทุกข์ หรือเมื่อกำลังถูกบังคับให้ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยที่ใจไม่มีความต้องการอยากจะทำสิ่งนั้น นอกจากร่างกายจะไม่สนใจแล้ว จิตใจย่อมจะปิดกั้นการเรียนรู้ไปด้วย