วิทยากรกระบวนการยุค 4.0

วิทยากรกระบวนการยุค 4.0

ชื่อหลักสูตร วิทยากรกระบวนการยุค 4.0
หลักการและเหตุผล
วิทยากรกระบวนการยุค 4.0 ไม่ใช่วิทยากรที่เอาแต่นั่งบรรยายหรือเอาแต่พูดสื่อสารทางเดียว (one way communication) เพราะการจัดประชุม สัมมนา การพัฒนาบุคคลากรทั้งภายในและภายนอกที่มีประสิทธิภาพ วิทยากรหรือผู้บรรยาย  ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการสร้างผลสำเร็จให้ได้ตามเป้าหมายในการอบรม สัมมนา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิทยากรกระบวนการหรือ Facilitator คือ ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกิดความรู้ความเข้าใจ เกิดทักษะ เกิดทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับเรื่องที่อบรมจนกระทั่งผู้เข้าอบรมเกิดการเรียนรู้ร่วมกันและสามารถจุดประกายความคิดให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ หรือพฤติกรรมไปตาม วัตถุประสงค์ของเนื้อหาหรือหลักสูตรนั้น ๆ การฝึกวิทยากรกระบวนการมืออาชีพจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อองค์กรต่าง ๆ เพื่อสร้างสรรค์การจัดการความรู้ให้เกิดขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่มีค่าสอดรับกับประเทศไทย 4.0

บทบาทด้านการเตรียมการ คือ การเตรียมตนเอง แหล่งข้อมูลกิจกรรมการเรียนรู้ สื่ออุปกรณ์การเตรียมการวัด และประเมินผล เป็นต้น บทบาทด้านการดำเนินการ ประกอบด้วย การเป็นผู้นำเสนอ ผู้ช่วยการสื่อสาร ช่วยเหลือให้คำแนะนำ ปรึกษา การเป็นผู้กระตุ้นจูงใจ การเป็นผู้สังเกต เป็นผู้ร่วมกิจกรรม การเป็นผู้ประสานงาน เสริมบรรยากาศอบอุ่นเป็นมิตร การเป็นผู้วิเคราะห์สรุปประเด็น สังเคราะห์ เชื่อมโยงประเด็นให้เป็นไปตามมติกลุ่ม บทบาทด้านการประเมินผล เพื่อตรวจสอบว่าสามารถจัดกิจกรรมบรรลุตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้หรือไม่และต้องให้กลุ่มและสมาชิกมีบทบาทในการวัดและประเมินผลวิทยากรกระบวนการ

นอกจากนั้น ควรเป็นผู้จัดการ เป็นผู้ประสานงาน ผู้สังเกต ผู้กระตุ้น ผู้สร้างบรรยากาศ ผู้เอื้ออำนวยให้เกิดการสื่อสารทางกาย ผู้ร่วมเรียนรู้กับสมาชิกในกลุ่ม โค้ชการเรียนรู้หรือการแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง ใช้เทคนิคการกระตุ้นเร่งเร้ากลุ่มให้คิด แสดงความคิดเห็น สนับสนุนกลุ่มโดยดูแลให้สมาชิกทุกคนได้รับเวลาที่พอเพียง ใช้เทคนิคการกระตุ้นเร่งเร้ากล่มให้คิด แสดงความคิดเห็น สนับสนุนกลุ่มโดยดูแลให้สมาชิกทุกคนได้รับเวลาที่พอเพียง พิจารณาถึงพฤติกรรมการทำงาน สัมพันธภาพภายในกลุ่ม สามารถจัดการกับความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝัน สามารถมีอารมณ์ร่วมไปกับคนในเวทีและพร้อมรับฟังความคิดเห็น รวมทั้งความรู้สึกของผู้อื่น ทำให้ประเด็นยากๆ กลายเป็นประเด็นที่เข้าใจง่ายขึ้น ต้องทำให้ตนเองไม่เครียด และมีอารมณ์ขัน มีทักษะการสื่อสารที่ดี กระตุ้นให้ทุกคนมีปฏิกิริยาโต้ตอบด้วยสัมพันธภาพที่ดี สร้างความเชื่อถือไว้วางใจ มีทักษะการฟัง ฟังอย่างเป็นกลาง ตั้งใจ หยุดเพื่อฟัง ไม่พูดแทรก ไม่ครอบงำความคิด ให้ความสำคัญกับการรับรู้ การแสดงความรู้สึก และความหมายที่ซ่อนเร้นเช่นเดียวกับถ้อยคำที่สมาชิกพูดออกมา มีความสามารถในการตั้งคำถามเชิงสร้างสรรค์ ที่ทำให้เกิดกระบวนการคิดและท้าทายให้คิดหาคำตอบ รู้จักใช้

คำพูดที่กระชับ ตรงประเด็น ชัดเจน กระตุ้นให้คิดไปตามลำดับอย่างเชื่อมโยง เป็นระบบ หรือเป็นประเด็นท้าทายสำหรับกลุ่มในการฝ่าฟันให้ความสำเร็จร่วมกัน และสร้างการยอมรับคำตอบที่ไม่คาดฝัน มีความยืดหยุ่นทางความคิด คิดในแง่ดี รับฟังความ คิดเห็นคนอื่น มีจินตนาการ คิดสร้างสรรค์ ไม่ติดกรอบ ไม่ครอบงำความคิดของผู้อื่น คิดแบบองค์รวม มีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ในกลุ่ม และเต็มใจให้ความ ช่วยเหลือ มีความสามารถในการใช้กิจกรรมสอดแทรกในจังหวะเวลาที่เหมาะสม มีความสามารถในการสร้างบรรยากาศสนับสนุนซึ่งกันและกัน ไม่ใช้การวิพากษ์วิจารณ์เชิงลบ ช่วยเหลือ ให้มีการแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิกกลุ่มให้เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ มีความสามารถในการสรุป และเชื่อมโยงให้เห็นภาพรวมมากกว่าการมองประเด็นเล็ก หรือแยกส่วน เชื่อในศักยภาพของผู้ด้อยโอกาส เคารพในศักดิ์ศรี ความเป็นมนุษย์ของทุกคน ต้องการเห็นผู้อื่นมีความสามารถในการเรียนรู้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเข้าใจบทบาทหน้าที่ของการเป็นวิทยากรกระบวนการมืออาชีพ

2. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเรียนรู้กลวิธี เทคนิคการนำเสนอ การเป็นวิทยากรกระบวนการมืออาชีพ
3. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรมและวิทยากร

รายละเอียดหลักสูตร
1. การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย

– การเตรียมการสอนของวิทยากรกระบวนการ
– การวิเคราะห์ผู้ฟังเพื่อการบรรยาย
– การวางแผนการสอน ตามหลัก 5W1H

2. การจัดลำดับเนื้อหาในการนำเสนอ/กิจกรรม
– การสร้างโครงเรื่องเพื่อการนำเสนอ/กิจกรรม
– จิตวิทยาการจูงใจและทำให้ผู้อื่นคล้อยตาม
– การตั้งคำถามและการใช้ปฏิภาณไหวพริบ

3. เทคนิคการจัดกระบวนการเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในงานพัฒนาพื้นที่สูง
– เทคนิคการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
– ขั้นตอนของการสร้างสรรค์บรรยากาศ
– เทคนิคการสร้างอารมณ์ขันเพื่อสร้างบรรยากาศ
– การใช้สื่อและอุปกรณ์ประกอบการบรรยาย
– ประเภทของสื่อและอุปกรณ์

4. เทคนิคอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
– บุคลิกภาพแห่งปัญหาของวิทยากร
– การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกและภายใน
– จริยธรรมและจรรยาบรรณของวิทยากรกระบวนการ

5. ฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากรกระบวนการที่ดี
6. ฝึกการนำเสนอ และอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการ