พัฒนาภาวะผู้นำสู่ศตวรรษที่ 21

พัฒนาภาวะผู้นำสู่ศตวรรษที่ 21

ชื่อหลักสูตร พัฒนาภาวะผู้นำสู่ศตวรรษที่ 21

หลักการและเหตุผล
พัฒนาภาวะผู้นำสู่ศตวรรษที่ 21 ในปัจจุบันมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา จึงเกิดเป็นแนวคิดที่สำคัญๆ อาทิ ภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและแบบเปลี่ยนแปลง (Transactional and Transformational Leadership) นอกจากนี้ ยังมีทฤษฎีความสามารถพิเศษของผู้นำ (Charismatic theory) เป็นการกล่าวถึงบุคลิกภาพของผู้นำที่มีลักษณะเฉพาะแตกต่างไปจากบุคคลอื่น ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ ควรมีลักษณะกล่าวคือ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถด้านทักษะการสื่อสาร ความสามารถที่ทำให้ผู้อื่นไว้วางใจ ความสามารถทำให้ผู้อื่นเห็นว่า ตนเองมีความสามารถ มีพลังและมุ่งการปฏิบัติให้บรรลุผล แสดงอารมณ์ได้อย่างเหมาะสมและเอื้ออาทรแก่ผู้อื่น ชอบที่เสี่ยง สร้างกลยุทธ์ใหม่ๆเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย มีการโฆษณาตัวเอง และทำให้การขัดแย้งภายในเกิดขึ้นน้อยที่สุด

ในศตวรรษที 21 เป็นยุคของการเปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในโลก ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและยากที่จะคาดเดาได้ ดังนั้น ทักษะในศตวรรษที 21 (21ST Century skills) อาทิเช่น ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร ทักษะความเป็นนานาชาติ และทักษะด้านชีวิตและอาชีพจึงเป็นทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนคนไทยในฐานะการเป็นพลเมืองของโลกที่มีการดำรงชีวิตท่ามกลางโลกแห่งเทคโนโลยี เศรษฐกิจการค้าโลกาภิวัตน์ในระบบเครือข่าย ความสมดุลของสิ่งแวดล้อม พลังงาน สังคมเมือง การก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ ความเป็นโลกส่วนตัวอยู่กับตัวเองมากขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นโจทย์ในการนำในศตวรรษที่ 21 เพื่อทำให้พนักงานมีคุณลักษณะด้านการเรียนรู้ที่สามารถปรับตัวได้อย่างชาญฉลาดเท่าทัน มีภาวะความเป็นผู้นำ ด้านการทำงานที่สามารถชี้นำตนเองในการพัฒนาการสร้างงานและอาชีพ และตรวจสอบการเรียนรู้ของตนเองได้อย่างมีสติ และด้านศีลธรรมที่ให้ความเคารพซึ่งกันและกัน มีความซื่อสัตย์ และเป็นพลเมืองที่มีคุณค่า

แนวทางการพัฒนาทำให้บุคคลมีคุณลักษณะของคนในศตวรรษที่ 21 จึงเป็นเรื่องของการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับคศตวรรษที่ 21 ซึ่งผู้ที่จะทำให้การศึกษาเป็นเครืองมือที่น่าไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด คือ ผู้นำเป็นบุคคลที่ริเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลงการกระทำในกลุ่มซึ่งมีหน้าที่ในการประสานงานกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับภารกิจของกลุ่ม อีกทั้งยังเป็นผู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสและต้องมีวิธีการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยสามารถขจัดปัญหาความขัดแย้งและการต่อต้านได้อย่างเหมาะสม เพราะผู้นำเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวได้

ผู้นำจำเป็นต้องมีภาวะผู้นำ ซึ่งเป็นกระบวนการที่ผู้นำใช้อิทธิพลให้บุคคลดำเนินการในการทำกิจกรรมต่างๆ ในองค์การ โดยที่ผู้นำได้แสดงความรู้ในด้านต่างๆ และแสดงลักษณะท่าทางเพื่อให้บุคคลแสดงพฤติกรรมในการทำงานให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายและบรรลุเป้าหมายร่วมกันและมีลักษณะผู้นำ

ภาวะผู้นำจึงเปรียบเสมือนอาวุธประจำกายของผู้บริหารที่จะเป็นตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพของงานเป็นคุณสมบัติที่สำคัญยิ่งต่อการบริหารงาน ซึ่งการขับเคลื่อนการบริหารงานในปัจจุบัน มุ่งเน้นไปที่ การพัฒนาทักษะการเรียนรู้ของผู้ตามในศตวรรษที 21

ผู้นำในศตวรรษที่ 21 สิ่งที่ท้าทายความสามารถ คือ ความสามารถนำพาองค์กรของตนให้อยู่ในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจะมองเห็นการเปลี่ยนแปลงว่าเป็นโอกาส การทราบวิธีการค้นหาการเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้อง และทราบวิธีที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิผลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กร ได้แก่ ด้านนโยบายการสร้างอนาคต ด้านวิธีการอย่างเป็นระบบในการมองหาและคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลง ด้านวิธีที่ถูกต้องในการสร้างความคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอกองค์กร ด้านนโยบายในการสร้างสมดุลระหว่างการเปลี่ยนแปลงกับความต่อเนื่องเพราะนโยบายการสร้างสรรค์สิ่งใหม่อย่างเป็นระบบ สามารถสร้างจิตสำนึกให้องค์กรในฐานะผู้นาการเปลี่ยนแปลง

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจบทบาทหน้าที่และทักษะของการเป็นผู้นำที่ดี

2.เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักและวิธีการในการบริหารจัดการงานและคนอย่างมีประสิทธิภาพ
3.เพื่อชี้ให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้แนวทางการบังคับบัญชาที่จะช่วยให้การบริหารงานเป็นไปด้วยความราบรื่น
4.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำไปประยุกต์ใช้อย่าง เหมาะสม และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้แก่ตนเอง เพื่อนร่วมงานและองค์กร

รายละเอียดหลักสูตร

1. บทบาทหน้าที่และทักษะการเป็นหัวหน้างาน

เรียนรู้บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่เป็นหัวหน้างานหรือผู้บังคับบัญชารวมทั้งทักษะของการเป็นหัวหน้างานที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนพัฒนาความเป็นผู้ฝึกสอน

2. เทคนิคการสื่อสารและมอบหมายงาน

มีความรู้ความเข้าใจในการสื่อสารระหว่างผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนถึงการมอบหมายงานให้แก่ผู้ใต้บังคับชาได้อย่างเหมาะสม

3. เทคนิคการสร้างทีมงานสู่ความสำเร็จ

เรียนรู้เทคนิคและวิธีการในการสร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพ เพื่อร่วมกันปฏิบัติงานให้สำเร็จผลและการสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน

4.การกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการทำงาน

เรียนรู้วิธีการกำหนดเป้าหมายของงานที่ทำและกระบวนการในการวางแผน เพื่อให้บรรลุถึงสิ่งที่ตั้งไว้นั้น และการติดตามงาน

ติดต่อสอบถาม