พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ

พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ

ชื่อหลักสูตร พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ
หลักการและเหตุผล
พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นวินัยที่สำคัญที่สุด มนุษย์หลายคนไม่สามารถฝึกฝนตนเองให้มีความสามารถคิดเป็นระบบได้อย่างทันการณ์หรือคิดได้ล่วงหน้า ผลคือ ทำให้เกิดปัญหาในการเรียนมากมาย เพราะคิดว่าสิ่งที่ปฏิบัติในทุกวันนั้นเป็นการแก้ไขปัญหาและพัฒนาตนเอง เนื่องจากคิดสั้นผันตามเหตุการณ์หรือตามสถานการณ์ ทำให้ขาดการเห็นภาพใหญ่ ไม่ต่อเนื่อง ไม่เห็นความเชื่อมโยงกับส่วนต่างๆ ดังนั้น การอบรมครั้งนี้ จึงมุ่งเน้นให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเชื่อมโยงกระบวนการคิดได้อย่างมีเหตุผล เป็นระบบ

การคิดอย่างเป็นระบบ (Systematic thinking) เป็นรูปแบบการคิดขั้นสูงที่มนุษย์ใช้ในการมองปัญหาตั้งแต่ในระดับสถานการณ์ (Events) ระดับแบบแผนพฤติกรรม (Pattern of behavior) และระดับโครงสร้างระบบ (System structure) กล่าวคือ เป็นการสร้างความเข้าใจในสถานการณ์นั้นๆ ให้ได้ว่า ปัจจัยสาเหตุของการเกิดสถานการณ์นั้นมีปัจจัยเหตุย่อยอะไรบ้าง จากนั้นพิจารณาว่าปัจจัยเหตุย่อยนั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผลกันอย่างไรบ้าง เป็นการคิดที่มองแบบ “องค์รวม” ยอมรับในความมีพลวัตความสลับซับซ้อนของปัญหา รวมทั้งความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดพฤติกรรมรูปแบบต่างๆ เรียกว่า การบูรณาการชุดของความสามารถทางสมองในการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์และคิดเชิงประยุกต์ใช้เพื่อความสำเร็จในชีวิตว่าเป็น “เชาวน์ปัญญาแห่งความสำเร็จ (Successful intelligence)” เมื่อพิจารณาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับเชาวน์ปัญญา (Intelligence) พบว่า ความหมายของเชาวน์ปัญญาสามารถ แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) แนวคิดของนักจิตวิทยา (psychometric perspective) มองเชาวน์ปัญญาเป็นองค์ประกอบตามแผนผังโครงสร้างของสมอง (mental map) ที่แยกจากกัน เช่น แนวคิดของ Spearman, Thurstone, Guiford, Binet & Simon, Vernon, Snow แนวคิดนี้มุ่งใช้ความแตกต่างระหว่างบุคคลมาอธิบายสมรรถภาพทางสมองของมนุษย์ 2) กลุ่มแนวคิดทฤษฎีของ Piaget (Piagetian perspective) เป็นทฤษฎีที่มองเชาวน์ปัญญาว่ามีระเบียบและโครงสร้างของเหตุผล สามารถพัฒนาได้ตามระยะพัฒนาการ สิ่งที่ร่วมเสริมสร้างเชาวน์ปัญญาประกอบด้วย วุฒิภาวะ (Maturation) ประสบการณ์ (Experience) การถ่ายทอดความรู้ทางสังคม (Social transmission) และกระบวนการพัฒนาสู่สมดุล (Equilibration) หรือการควบคุมตนเอง (Self-regulation) แนวคิดนี้ใช้กลไกของการพัฒนาการทางการคิดและศักยภาพของการคิดในแต่ละระดับของพัฒนาการที่แตกต่างกันในการอธิบายสมรรถภาพทางสมองของมนุษย์ 3) กลุ่มกระบวนการประมวลผลข้อมูล (Information processing perspective) มองเชาวน์ปัญญาว่าเกี่ยวข้องกับการประมวลผลข้อมูลและจัดกระทำเกี่ยวกับข้อมูลที่สมองได้รับหรือกระบวนการคิด ได้แก่ Gardner, Sternberg เป็นต้น แนวคิดนี้ใช้ความแตกต่างของงานเป็นหลักสำคัญในการอธิบายสมรรถภาพทางสมองของมนุษย์

ในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น คนเราจำเป็นต้องมีทักษะในการทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อที่จะนำไปสู่การประสบความสำเร็จในชีวิต โดยอาศัยความสามารถทั้งสามด้านอย่างสมดุล ทฤษฎีนี้พัฒนามาจากทฤษฎีเชาวน์ปัญญาสามศร (Triarchic Theory of Intelligence) ของ Sternberg เอง เป็นทฤษฎีที่ให้ความสนใจในการทำความเข้าใจความสามารถและสมรรถภาพที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ ซึ่งแบ่งออกเป็นทฤษฎีย่อย 3 ทฤษฎี คือ ทฤษฎีย่อยด้านการคิด (Componential Sub theory) ทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์ (Experimental Sub theory) และทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคม (Contextual Sub theory) ความแตกต่างระหว่างทฤษฎีย่อยด้านประสบการณ์และทฤษฎีย่อยด้านบริบทสังคมจะใช้ทฤษฎีย่อยด้านการคิดเป็นตัวเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน บุคคลที่มีเชาวน์ปัญญาแห่งความสำเร็จจะรู้จักจุดเด่นของความสามารถตนและใช้ประโยชน์จากจุดเด่นนั้นมากที่สุด ในขณะเดียวกันก็รู้จักจุดด้อยของตนและรู้จักแก้ไข ชดเชยจุดด้อยนั้น โดยการปรับตัว(Adapt to) ดัดแปลง (Shape) และเลือก (Select) สิ่งแวดล้อม โดยการใช้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์การคิดสร้างสรรค์ และการคิดประยุกต์อย่างสมดุล นับว่า มีคุณลักษณะเดียวกันกับความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทราบถึงหลักการของการคิดเชิงระบบ ทัศนคติที่ดี สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ เพื่อความสำเร็จในการเรียน
2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการรู้ถึงพฤติกรรมการเรียน การใช้ชีวิตของตนเอง
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการสามารถใช้แนวคิด ทักษะเชิงจิตวิทยาในการสร้างความกระตือรือร้นในการเรียนและการใช้ชีวิต ให้สามารถรับแรงกดดันได้

รายละเอียดหลักสูตร

  • กระบวนการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงรุก
  • การคิดด้วยพลังสมองสองซีกกับการคิดเชิงระบบ
  • วงจรการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเป็นระบบ
  • เทคนิคการวิเคราะห์พฤติกรรม
  • กระบวนการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์

ติดต่อสอบถาม