ประโยชน์ของทีมบูรณาการ

ประโยชน์ของทีมบูรณาการ

ประโยชน์ของทีมบูรณาการ (Team collaboration) Valdellon อธิบายประโยชน์ 11 ประการในการพัฒนาทีมบูรณาการหรือ Team collaboration ในบทความชื่อ 11 Key business benefits of team collaboration (& why you should work on your teamwork) (2017) ได้แก่

1. พัฒนาองค์กรให้มีความยืดหยุ่น (Improved Flexibility of the Organization)

             เมื่อการทำงานร่วมกันมีการปรับปรุงพัฒนา องค์กรย่อมจะมีความสามารถในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงได้ดียิ่งขึ้น การมีทีมบูรณาการที่ดีจะทำงานได้ง่าย เมื่อต้องรับมือกับความต้องการของลูกค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเมื่อมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เพิ่มเข้ามา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ความจริงแล้วทีมบูรณาการที่ดีและการทำงานร่วมกันเป็นพื้นฐานของหลายๆ ทฤษฎี เช่น ทฤษฎีของ Agile และ Scrum ที่ช่วยให้ทีมบูรณาการมีความยืดหยุ่นและมีความรับผิดชอบมากขึ้น

2. ความผูกพันธ์ของพนักงาน (Engaged Employees)

             “เป็นที่น่าเสียดายที่ในสหรัฐอเมริกามีพนักงานเพียงร้อยละ 33 ที่รู้สึกผูกพันกับบริษัท” Nick Sanchez ผู้บริหารระดับสูงด้านการบริหารคนของบริษัท Namely กล่าวไว้ “ซึ่งหมายความว่า หากคุณไม่ส่งเสริมให้พนักงานเกิดความผูกพันธ์กับบริษัท องค์กรของคุณจะอยู่ในภาวะเสี่ยง” และหนึ่งในวิธีที่ดีที่สุดที่จะทำให้พนักงานเกิดความผูกพันกับองค์กร คือ การพัฒนาการทำงานร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างหรือทีมบูรณาการ ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์อันดีให้เกิดขึ้นในองค์กร การเปิดกว้างให้เกิดการทำงานร่วมกันนำไปสู่การมีส่วนร่วมในการทำงานของพนักงานและทำให้พนักงานกระตือรือร้นในการทำโครงการใหม่ๆ พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงที่มองว่าเป็นโอกาสมากกว่าเป็นภาระ เพราะเป็นความท้าทายที่จะทำให้พนักงานพัฒนาตนเองไปอีกขั้นหนึ่ง

3. พนักงานมีสุขภาพที่ดี (Healthier Employees)

             หลายคนอาจสงสัยว่า การมีทีมงานหรือทีมบูรณาการที่ดีช่วยส่งเสริมสุขภาพได้อย่างไร จากนิตยสาร Harvard Business Review อธิบายว่า หากผู้บริหารต้องการให้พนักงานทุกคนมีสุขภาพดีขึ้น ผู้บริหารควรสร้างวัฒนธรรมที่มีคุณค่าให้แก่องค์กร  วัฒนธรรมที่ขับเคลื่อนด้วยการทำงานร่วมกันและความเป็นมืออาชีพ เมื่อผู้บริหารปฏิบัติต่อพนักงานในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่งที่ไม่ใช่เพียงฟันเฟืองในเครื่องจักรและสามารถมั่นใจได้ว่า ผู้บริหารเน้นเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ต่อกันในทางที่ดี พนักงานสามารถบอกลาความเครียดที่เป็นมลพิษต่อสุขภาพ มีหลายงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า พนักงานหลายคนมีสุขภาพแย่และโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่ไม่ได้ประสิทธิภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีแต่ความเคร่งเครียด ด้วยเหตุนี้ ทำไมไม่พัฒนาการทำงานร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างและพัฒนาวัฒนธรรมองค์กรให้ควบคู่พอๆ กับการพัฒนาเครื่องจักรหรือเทคโนโลยีในการทำงาน

4. การประชุมมีประสิทธิภาพมากขขึ้น (More Productive Meetings)

             การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลให้เกิดการประชุมที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันให้กับพนักงาน  พนักงานต้องการประชุมบ่อยขึ้นเนื่องจากพวกเขาทำงานหลายชิ้นเสร็จสิ้นและต้องใช้เครื่องมือรายงานความคืบหน้าของงานหรือรายงานงานที่ยังไม่แล้วเสร็จ และเมื่อมีการประชุมแต่ละครั้งจะต้องมีข้อมูลเชิงรุกมาแบ่งปันกัน มีการกระชับความสัมพันธ์และสนับสนุนความพยายามของกันและกันมากยิ่งขึ้น

5. ช่วยดึงดูดคนมีความสามารถสูง (More Attractive to Top Talent)

             การทำงานร่วมกันช่วยให้พนักงานมั่นใจว่ามีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน เมื่องานดึงดูดผู้มีความสามารถสูง งานที่มีแรงจูงใจและโอกาสสูงย่อมเป็นที่ต้องการสำหรับคนที่เอาใจใส่และคนที่รู้ว่าจะได้เรียนรู้อะไรบ้างจากงาน จากงานวิจัยเกี่ยวกับ Millennials ในที่ทำงาน (Millennials คือ ผู้ที่เกิดระหว่างปี 1980-2000 แบ่งประเภทตามอุปนิสัยมากกว่าอายุ) ทำการศึกษาโดย PwC ได้ความว่า Millennials นั้นจะเพลิดเพลินกับโอกาสที่ทำให้พวกเขาได้มีส่วนร่วม มีปฏิสัมพันธ์และได้เรียนรู้จากผู้บริหารอาวุโส” หากองค์กรมีการบ่มเพาะวัฒนธรรมการทำงานร่วมกัน องค์กรนั้นจะมีแรงดึงดูดคนที่มีความสามารถสูง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ๆ

6. การเร่งความเร็วทางธุรกิจ (Accelerated Business Velocity)

             ด้วยการทำงานร่วมกัน องค์กรสามารถสร้างกระบวนผลิตผลิตภัณฑ์ตามท้องตลาดได้รวดเร็วยิ่งขึ้น  การมีทีมและการสื่อสารที่ดีเยี่ยมช่วยเร่งกระบวนการทุกอย่างให้เร็วขึ้นและทำให้การผลิตเป็นเรื่องง่าย ส่งผลให้ทั้งองค์กรสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมากขึ้น ตัวอย่างจากบริษัทด้านเทคโนโลยีที่เกิดใหม่อย่าง Tactus ซึ่งสามารถลดช่วง Scrum period (แปลได้ว่าช่วงที่ทุกคนในบริษัทรุมงาน) ได้ถึงร้อยละ 80 อย่างมีประสิทธิภาพ ลดเวลาจากที่ควรใช้ทั้งสัปดาห์ให้เหลือแค่วันเดียวได้โดยการใช้เครื่องมือเข้ามาช่วยในการจัดการการทำงาน พนักงานสามารถตรวจสอบสถานะโครงการหลายๆ อย่างทางออนไลน์ได้ทุกเวลาที่ต้องการ ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างรวดเร็ว

7. อัตราพนักงานที่ทำงานกับองค์กรเป็นเวลานานเพิ่มสูงขึ้น (Higher Retention Rates)

             อะไรคือข้อดีของการที่พนักงานมีความผูกพันที่ดีกับองค์กร พนักงานมีความสุขมากขึ้น รู้สึกถูกเติมเต็มมากขึ้น แล้วทำไมพนักงานต้องอยากลาออกจากงานที่ช่วยเติมเต็มพวกเขา ถ้าพนักงานในองค์กรมีแต่คนที่ดีและตั้งใจทำงานจนเป็นที่จดจำของคนในองค์กร พวกเขาเหล่านั้นอยากจะลาออกไปทำไม ไม่ใช่ว่าการได้ทำงานร่วมกันจะส่งผลทำให้เกิดเหตุการณ์ที่กล่าวไปด้านบนขึ้นอย่างอัตโนมัติ แต่การทำงานร่วมกันจะช่วยสร้างพื้นฐานวัฒนธรรมที่เปิดกว้างให้กับสมาชิกทุกคนในองค์กร และเป็นวัฒนธรรมที่ทำให้พนักงานมีความยึดถือและมุ่งมั่นที่จะทำงานกับองค์กรต่อไป

8. แนวคิดใหม่ๆ (Innovative Ideas)

             แน่นอนว่าการทำงานร่วมกันไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะการทำงานร่วมกันท่ามกลางความแตกต่าง มักจะมีความขัดแย้งเกิดขึ้น เพราะข้อดีของความขัดแย้ง มีส่วนช่วยให้เกิดความคิดใหม่ๆ แต่สิ่งที่ดีที่ได้จากความไม่ลงรอยกันระหว่างความขัดแย้งส่วนตัวกับรูปแบบการทำงานคืออะไร ช่วยให้พลังและแนวคิดใหม่ๆ และหากไม่มีแนวคิดใหม่ๆ ที่ช่วยกระตุ้น องค์กรจะหยุดอยู่กับที่ไม่มีอะไรโดดเด่น เป็นไปแบบกลางๆ

9. การร่วมงานที่ดีกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Better Alignment with Stakeholders)

             เมื่อพูดถึงการทำงานร่วมกัน การเน้นเรื่องการทำงานร่วมกับคนภายนอกองค์กรอย่างเช่นลูกค้า หุ้นส่วนและผู้จัดจำหน่าย– ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่โครงการและผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบโดยตรงกับกลุ่มคนเหล่านี้เป็นแนวคิดที่ดี หากพนักงานสามารถนำความเห็นมาใช้ในกระบวนการปรับปรุงคุณภาพสินค้า ย่อมจะเป็นการร่วมงานที่ดีระหว่างความต้องการของลูกค้าและคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และต่างเป็นการได้กำไรกันทั้งสองฝ่าย

10. ผลผลิตส่วนบุคคลที่เพิ่มขึ้น (Enhanced Individual Productivity)

             จากงานวิจัยของ McKinsey & Company ใช้กระบวนการทำงานร่วมกันและใช้เครื่องมือสร้างเครือข่ายในการเพิ่มผลผลิต พบว่า มีส่วนช่วยเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 20-30 ในทีมพัฒนาซอฟต์แวร์ระดับโลก และบริษัท Xilinx ผู้ผลิตชิปแห่งแคลิฟอร์เนีย รายงานว่า ได้ใช้เครื่องมือในการช่วยตรวจสอบการทำงานร่วมกันแบบ peer-to-peer (การเชื่อมต่อแบบโครงข่ายโดยตรงของคอมพิวเตอร์) พบว่า ผลผลิตทางวิศวกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 25

11. ผลประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น (Increased Profitability)

             แน่นอนว่า ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ ผลลัพธ์ทางธุรกิจ การทำงานร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างช่วยเพิ่มผลลัพธ์มากขึ้น เพราะหลังจากการรับเหล่าอัจฉริยะเข้าทำงานและสร้างวัฒนธรรมที่คู่ควรกับทักษะของพนักงานเหล่านี้ พวกเขาจะทำงานอย่างเต็มความสามารถและสร้างแนวคิดเชิงนวัตกรรมใหม่ๆ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้าและจะนำประโยชน์อย่างมากมายมาให้องค์กร ผู้บริหาร เจ้าของธุรกิจและเพื่อนร่วมงาน

ประโยชน์ของทีมบูรณาการ เป็นประโยชน์ของการพัฒนาตนเอง พัฒนาคน พัฒนาองค์กรที่จำเป็นต้องเข้าใจ หลักการ วิธีการและการรักษาคนดีคนเก่งในองค์กร