คุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน

คุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน

ชื่อหลักสูตร คุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน
หลักการและเหตุผล

คุณธรรมจริยธรรมในการทำงาน มีความหมายเป็นอย่างมากต่อการขับเคลื่อนองค์กรท่ามกลางกระแสแห่งความโลภ โกรธ หลง โดยคุณธรรม หมายถึง หลักคุณงามความดี ความถูกต้องที่อยู่ภายในจิตใจของแต่ละบุคคลเป็นแรงกระตุ้นผลักดันให้เกิดความรู้สึกผิดชอบในการประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบที่ดีงามของสังคม และเป็นสิ่งที่ต้องปลูกฝังโดยเฉพาะเพื่อให้เกิดขึ้นและเหมาะสมกับความต้องการในสังคมไทย ส่งผลให้เกิดคุณประโยชน์แก่สังคมโดยรวม

จริยธรรม หมายถึง สิ่งที่พึงประพฤติปฏิบัติ มีพฤติกรรมที่ดีงามต้องประสงค์ของสังคม เป็นหลักหรือกรอบที่ทุกคนกำหนดไว้เป็นแนวปฏิบัติสาหรับสังคม เพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยสวยงาม เกิดความสงบร่มเย็นเป็นสุข เกิดความรักสามัคคี เกิดความอบอุ่นมั่นคง และปลอดภัยในการดำรงชีวิต เช่น ศีลธรรม กฎหมาย ธรรมเนียม ประเพณี เป็นต้น คุณธรรม จริยธรรมเป็นคำที่คู่กันเสมอ

คุณธรรม คือ ความดีความงามมีลักษณะเป็นนามธรรม แต่ จริยธรรม หมายถึง การกระทำที่ดีงามทั้งที่ดีต่อตนเองและผู้อื่นมีลักษณะเป็นรูปธรรม สังเกตเห็นได้เป็นกริยาที่แสดงออกมาภายใต้กระบวนการคิดและตัดสินใจของตนเอง ดังนั้นจึงเป็นการสมควรที่ทุกๆ คนจะต้องฝึกตนให้มีคุณธรรม จริยธรรมอยู่เสมอ เพราะการกระทำที่ดีงามย่อมไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน แต่กลับจะทำให้ทุกๆ คนอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข มีความรักและเมตตาต่อกัน เป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สามัคคีร่วมมือร่วมใจ เอาใจเขามาใส่ใจเรา ซื่อสัตย์ ไม่คดโกง ไม่เห็นแก่ตัว แต่กลับเห็นว่าส่วนรวมมาก่อนส่วนตัวและมีวินัย เป็นต้น ซึ่งการที่จะให้สมาชิกในสังคมมีคุณธรรม จริยธรรมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการอบรม บ่มเพาะ ปลูกฝังฝึกฝน ลงมือปฏิบัติ และพัฒนาตั้งแต่เยาว์วัยดังคำพูดที่ว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก เพราะวัยเด็กเป็นวัยที่ปลูกฝังได้ง่ายกว่าวัยผู้ใหญ่ ดังนั้น สถาบันครอบครัวและสถาบัน การศึกษาจึงต้องร่วมมือกันดำเนินการเพื่อให้เด็กๆ เจริญเติบโตและมีพัฒนาการทั้งด้านความรู้ ทักษะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยมที่ดีงาม

ความสำคัญของหน่วยงานจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมและส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาตนเอง และมีการทำงานบนหลักคุณธรรม จริยธรรมซึ่งเป็นฐานของการเป็นคนดี สอดคล้องกับพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. ๒๕๖๒ ที่ได้กำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ ให้เป็นแนวทางนำไปสร้างพฤติกรรมการทำงานให้สอดคล้องกับมาตรฐานทางจริยธรรม ๗ ประการ นี้ ได้แก่

1. ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

2. ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดีและรับผิดชอบต่อหน้าที่

3. กล้าตัดสินใจและกระทำในสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม

4. คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัวและมีจิตสาธารณะ

5. มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน

6. ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรมและไม่เลือกปฏิบัติ

7. ดำรงตนเป็นแบบอย่างทีดีและรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ

วัตถุประสงค์

1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจในการนำหลักคุณธรรมจริยธรรมไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันและนำไปใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดประสิทธิภาพ

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความสำนึกรักในการพัฒนาองค์กรร่วมกันอย่างมีความสุข

3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรม และวิทยากร

รายละเอียดหลักสูตร

1. ถอดรหัสความสำเร็จ : การสร้างผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

1.1 ความคาดหวังของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อผลสัมฤทธิ์ของงานที่รับผิดชอบ

1.2 กรณีตัวอย่างการสร้างผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

1.3 การเป็นแบบอย่าง/เป็นตัวอย่าง (Exemplars/ Specimens) คนรุ่นใหม่ของหน่วยงานที่มีคุณธรรม จริยธรรมตามบทบาทหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ

2. มาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ/แนวทางที่เกี่ยวข้อง และการสร้างพฤติกรรมให้สอดคล้อง

2.1 มาตรฐานทางจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ/หรือแนวทางจริยธรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างผลสัมฤทธิ์ของงานที่รับผิดชอบ

2.2 มาตรฐานทางจริยธรรมที่พึงปฏิบัติและไม่พึงปฏิบัติที่ จะส่งผลต่อการเป็นแบบอย่าง/ตัวอย่าง (Exemplars/ Specimens) คนรุ่นใหม่ของหน่วยงานที่มีคุณธรรมจริยธรรมตามบทบาทหน้าที่ที่ตนรับผิดชอบ

3. ทักษะในการสร้างผลสัมฤทธิ์ของงานบนฐานของคุณธรรม จริยธรรม

3.1 การวางแผนที่มุ่งผลสัมฤทธิ์และการตัดสินใจบนฐานของความมีคุณธรรม จริยธรรม

   3.1.1 การวางแผนและการดำเนินการที่มุ่งผลสัมฤทธิ์

   3.1.2 ความเสี่ยงด้านคุณธรรม จริยธรรม/สี่งที่ไม่พึงปฏิบัติ และควรหลีกเลี่ยง

   3.1.3 การตัดสินใจบนฐานของความมีคุณธรรม จริยธรรม

3.2 ทักษะการคิด การสื่อสาร และการนำเสนออย่างมีตรรกะ

   3.2.1 ทักษะการคิดในรูปแบบต่าง ๆ

   3.2.2 ตรรกะ และการสื่อสารให้น่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับ

   3.3.3 การนำเสนอเพื่อความสำเร็จ

4. การต่อยอดสร้างพันธสัญญาและเครือข่ายคนรุ่นใหม่ใส่ใจจริยธรรม

4.1 การสร้างพฤติกรรมเชิงคุณธรรม จริยธรรมให้เห็นประจักษ์ชัดเจน

4.2 กำหนดแนวทางในการพัฒนาตนเองให้เป็นแบบอย่าง หรือเป็นตัวอย่าง (Exemplars/Specimens) คนรุ่นใหม่ของหน่วยงานที่สร้างผลสัมฤทธิ์ของงานที่รับผิดชอบอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

4.3 เขียนพันธสัญญาในการสร้างพฤติกรรมที่จะทำให้ได้เป็นแบบอย่าง หรือเป็นตัวอย่าง(Exemplars/Specimens) คนรุ่นใหม่ของหน่วยงานที่สร้างผลสัมฤทธิ์ของงานที่รับผิดชอบอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม

4.4 การสร้างเครือข่ายคนรุ่นใหม่และกำหนดกิจกรรมที่สะท้อนการคำนึง

ถึงผลประโยชน์ส่วนรวม และการมีจิตสาธารณะ

5. ประเด็นการเรียนรู้เพิ่มเติมตามมาตรฐานทางจริยธรรม

5.1 การถ่ายเรื่องราวข้าราชการไทยกับสถาบันหลักของชาติ

5.2 การปรับปรุงกระบวนการ (Process Improvement) เช่น PDCA หรือ Six Sigma หรือ Process Re-engineeringฯลฯ เป็นต้น

5.3 การสะท้อนตนเอง (Self-reflection) หลักสูตรเกี่ยวกับจิตตปัญญา มุมมองต่อตนเอง และเข้าใจผู้อื่น

5.4 ความคิดสร้างสรรค์ เช่น Design Thinking, Creative Thinking, Innovation Tool ฯลฯ

5.5 การพัฒนาเกี่ยวกับ Agility

5.6 การศึกษาภารกิจและการปฏิบัติงานของหน่วยงาน/องค์กรที่เกี่ยวข้อง การศึกษาประวัติและผลงานของส่วนราชการที่สังกัด เพื่อสร้างความภูมิใจ

5.7 มนุษย์สัมพันธ์ และการสื่อสาร (Communication Skills)

5.8 การสอนงานของหัวหน้างานให้มองภาพองค์รวม และความสำเร็จที่มากขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน

5.9 การทำงานเป็นทีม

5.10 การสร้างบรรยากาศและความผูกพันในองค์กร

ติดต่อสอบถาม