อิสสา (อิจฉา) คือ อาการเป็นทุกข์กับสมบัติของคนอื่น ถือเป็นอกุศลธรรมประเภทหนึ่งที่มีลาภสักการะ ความเคารพ ความบูชา และการนับถือของบุคคลอื่นเป็นอารมณ์ กล่าวคือ ผู้ที่มีความริษยา เมื่อเห็นผู้อื่นได้รับสมบัติ ได้ลาภสักการะ ได้รับความเคารพ บูชาและนับถือเหนือกว่าตน ก็จะเกิดอาการอึดอัด รันทด หดหู่ ท้อแท้ ทนไม่ได้ ตีโพยตีพาย เสียใจ เป็นทุกข์ ไม่พอใจ ก่นด่า ว่ากล่าว เป็นต้น ซึ่งอาการเหล่านี้ คือ ความไม่อยากให้คนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนที่เราไม่ชอบได้ดีกว่าตนเอง
6 อาการของความอิจฉา คือ
- รู้สึกเป็นทุกข์ เมื่อเห็นคนที่ตนไม่ชอบมีความสุข
- ไม่อยากเห็นคนอื่นได้ดีกว่าตน
- มีความรู้สึกอึดอัด ร้อนใจเมื่อเห็นคนอื่นดีกว่า เหนือกว่า
- ทนไม่ได้ เมื่อเห็นคนที่ตนไม่ชอบล้ำหน้า เกินหน้า
- รู้สึกยินดีจนออกนอกหน้า เมื่อเห็นคนที่ตนไม่ชอบเพลี่ยงพล้ำ
- รู้สึกมีความสุข เมื่อเห็นคนอื่นที่ตนไม่ชอบ มีความทุกข์
อิสสา เราทุกคนล้วนมีความอิจฉาอยู่ในจิตใจกันทุกคน วิธีการฝึกแก้ไขความอิจฉา
- รับรู้อารมณ์อิจฉา รู้เท่าทันว่า อิจฉาเกิดขึ้นในใจของตนเอง คือ การพยายามควบคุมความรู้สึกตัวเองไม่ให้รู้สึกอิจฉาริษยา พยายามไม่ให้อารมณ์อย่างนั้นหลุดลอยออกมา เมื่อเรารู้สึกอิจฉาใครบางคน และปล่อยตัวเองให้อยู่ในอารมณ์นั้น เราก็จะตกเป็นทาสของความรู้สึกดังกล่าวตลอดไป แต่หากเราสามารถสะกดอารมณ์เช่นนั้นได้ด้วยสติ ความอดทน ความอดกลั:น ก็จะทำให้อารมณ์อิจฉาเริ่มลดน้อยลงได้
- รักตัวเอง ไม่ยอมปล่อยให้ตนเองเป็นทาสความอิจฉา รักตัวเอง ถ้าเรารักตัวเอง ก็อย่ายอมให้ตนต้องตกเป็นทาสของความอิจฉาริษยา เพราะเมื่อใดก็ตามที่เราตกอยู่ใต้อํานาจของมัน มันจะพาเราไปประจานให้อับอายขายหน้า กล่าวคือ เมื่อใดก็ตามที่คนอื่นรู้ว่าเราเป็นคนที่มีนิสัยขี้อิจฉา ราศีของเราก็จะตกต่ำและมัวหมอง
- เลิกเปรียบเทียบชีวิตตนเองกับชีวิตของคนอื่น เมื่อพบเห็นกิริยาอาการของคนบางคน ไม่ว่าจะสบอารมณ์หรือไม่สบอารมณ์ก็ตาม ไม่ควรจะมีการเปรียบเทียบระหว่างบุคคล เพราะการเปรียบเทียบนําไปสู่ความอิจฉาริษยา และทั่งสองสิ่งนี้ล้วนปรุงแต่งขึ้น
- ค้นหาเหตุที่คุกคามใจให้อิจฉาให้เจอ ค้นหาสิ่งที่คุกคามจิตใจ ถามตัวเองและค้นหาว่าอะไรที่ทำให้รู้สึกหวั่นไหว เมื่อเห็นบุคคลอื่นดีเด่นเหนือกว่าเรา มันดูเหมือนว่าพฤติกรรมอย่างนั้นเป็นภัยคุกคามเรายิ่งนัก ยิ่งหาทางที่จะเอาชนะเขามากเท่าไหร่ ก็ยิ่งทำให้เราระทมขมขื่นมากขึ้นเท่านั้น
- อยู่ในโลกแห่งความจริง ไม่มีใครเสมอเหมือนกัน อยู่ในโลกแห่งความเป็นจริง ถามตัวเองว่า คนที่คุณอิจฉานั้น เป็นภัยคุกคาม ต่อตัวคุณ ต่อความสัมพันธ์หรือต่อธุรกิจของคุณหรือไม่ สิ่งที่คุณกําลังรู้สึกหรือทำนั้น สร้างประโยชน์ให้แก่คนที่เกี่ยวข้องหรือไม่ คุณจะเรียนรู้อะไรจากสิ่งนี้ได้บ้าง หรือจะได้ประโยชน์อะไรจากสถานการณ์นี้ ถ้ามันทำให้ทุกคนรู้สึกไม่ดีและไม่มีประโยชน์อะไรต่อคุณเลย
- หาจุดแข็งของตนเอง เราตางมีดีกันทุกคน หาจุดแข็งของตัวเอง สํารวจตนเองดูว่า มีจุดแข็งด้านใดและมีคุณลักษณะพิเศษอะไรที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น มีสมองอันเยี่ยมยอดในการคิดคํานวณ สามารถเล่นกีฬาได้ทุกประเภท เป็นต้น จงเห็นคุณค่าของพรสวรรค์และความสามารถที่คุณมี รวมทั้งให้ความสําคัญกับข้อดีในตัวเองที่ค้นพบนั้น
- พัฒนาจุดแข็งของตนเอง มากกว่าใช้ปากไปเหยียบย่ำใคร หันเหความสนใจ บางครั้งเมื่อเราถูกครอบงำด้วยความรู้สึกไม่ดี เพราะเรามัวแต่เน้นความรู้สึกด้านลบ จนลืมมองภาพใหญ่ แต่คุณสามารถเปลี่ยนสภาพอารมณ์ขณะนั้นได้ ด้วยการหันเหความสนใจไปยังสิ่งอื่นที่แตกต่างโดยสิ้นเชิง เช่น ทำอะไรก็ได้ที่ไม่ให้อารมณ์ของเรายึดติดอยู่กับสิ่งที่เราไม่พึงประสงค์นั้น ถามตัวเอง “นี่เป็นสิ่งที่เราต้องการจริงๆ ใช่หรือไม่” ความรู้สึกเช่นนี้ คือการที่เรากําลังให้ความสนใจต่ออารมณ์นี้อยู่ สมมติว่าคุณอยู่ในสถานการณ์นั้น ถามตัวเองว่าต้องการเช่นนั้นจริงหรือไม่ แล้วคิดว่าคนอื่นจะรู้สึกอย่างไร
สุดท้าย ไม่ต้องคิดหนีคนขี้อิจฉาหรือย้ายงานหรือลาออกจากงาน เพราะคนขี้อิจฉามีอยู่ในทุกสังคม ทุกวงการ ทุกอาชีพ แม้แต่วงการวิทยากร คนที่พูดๆ สอนๆ คนอื่น ตัวดีเลยแหละ ก่อนพัฒนาความคิดของคนอื่น เริ่มต้นพัฒนาตนเองก่อน สำคัญที่สุด