ผู้นำกับการพัฒนาทีม

ผู้นำกับการพัฒนาทีม

ผู้นำกับการพัฒนาทีม Weaver เสนอแนวทางการพัฒนาวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันและสร้างทีมอันทรงประสิทธิภาพภายใน 6 ขั้นตอน ในบทความชื่อ Collaborative Leadership Self-Assessment Tools ว่าการสร้างกระตุ้นให้เกิดทีมอันทรงประสิทธิภาพภายในองค์กรไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างไรก็ตาม การเป็นผู้นำที่ดีนั้นต้องอาศัยการมีทักษะด้านมนุษสัมพันธ์ขั้นสูง ความน่าเชื่อถือ กลวิธีการใช้วิธีในต่างๆ ในการสร้างทีมและมอบแนวคิดดังกล่าวแก่พนักงานในองค์กร

1. ทำความรู้จักกับทีมของคุณ (Get to know your team)

การที่ผู้นำทำความรู้จักกับสมาชิกในทีม จะช่วยให้สมาชิกในทีมเกิดความเชื่อมั่นและสบายใจที่จะทำงานในองค์กร การสร้างความเชื่อมั่นอย่างมีคุณภาพในทีมนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก เมื่อผู้นำต้องการให้สมาชิกแต่ละคนคล้อยตามโดยไม่เกิดข้อโต้แย้งใดๆ การให้สมาชิกในทีมมีส่วนร่วมในขั้นตอนการตัดสินใจในแต่ละเรื่องจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับพวกเขา เนื่องจากเป็นการแสดงให้เห็นว่า ความเห็นของสมาชิกแต่ละคนนั้นสำคัญ ดังนั้น สิ่งนี้จะสะท้อนถึงประสิทธิภาพของทีมมากขึ้นตามลำดับ

2. สร้างภาวะผู้นำ (Establish leadership)

การสร้างทีมอันทรงประสิทธิภาพไม่ใช่สิ่งที่ทุกคนจะสามารถจัดการได้ ก่อนจะสร้างทีมที่ดีขึ้นมาได้ ผู้นำต้องถามตนเองก่อนว่า มีทักษะความเป็นผู้นำที่จำเป็นสำหรับหน้าที่นี้เพียงพอหรือไม่ หน้าที่ในฐานะผู้นำ คือ การแสดงวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและวิธีการดำเนินการขององค์กรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้นอย่างเป็นรูปธรรม

3. จัดกิจกรรมสร้างความผูกพันในทีม (Organize team bonding activities)

หากผู้นำต้องการให้ทีมคงความเข้มแข็งและเป็นหนึ่งเดียวกัน ควรจัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ภายในทีมบ้างเมื่อมีโอกาส ลองชวนสมาชิกในทีมไปทานอาหารค่ำที่ภัตาคารชั้นดีสักครั้ง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยแลกเปลี่ยนกันระหว่างสมาชิก นอกจากนั้น ยังเป็นโอกาสในการให้เหล่าสมาชิกได้ทำความรู้จักกันในสภาพแวดล้อมสบายๆ นอกองค์กรด้วย

4. วางแผนไปพร้อมกับสมาชิกในทีม (Plan along with the team)

หากผู้นำอยากรู้ว่าจะบริหารทีมให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร มีกฎข้อหนึ่งที่เป็นสากลอย่างที่สุดหนึ่งข้อ คือ การตั้งเป้าหมายที่สามารถทำให้สำเร็จได้จริง การเป็นผู้นำที่ดีต้องสามารถพูดคุยเกี่ยวกับลำดับเวลาและขั้นตอนการทำงานกับสมาชิกในทีมได้ ผู้นำต้องมีการวางตารางการทำงาน ซึ่งตารางการทำงานนี้จะช่วยให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ แต่ต้องไม่ทำให้สมาชิกต้องทำงานหนักเกินไปด้วย

5. ชื่นชมเมื่อประสบความสำเร็จ (Celebrate victories)

การเป็นมืออาชีพไม่ได้หมายความว่าจะต้องเป็นคนที่เข้มงวดอยู่ตลอดเวลา เมื่อโปรเจคสุดโหดของทีมประสบความสำเร็จด้วยดีควรที่จะชื่นชมยินดีไปกับสมาชิกในทีม อาจมีการดื่มอวยพรด้วยไวน์หรือเลี้ยงฉลองความสำเร็จตามโอกาส เพื่อแสดงความชื่นชมสมาชิกในทีมของคุณ

6. เรียนรู้จากความล้มเหลวไปพร้อมกัน (Learn together from failures)

มุมมองหนึ่งที่สำคัญในการสร้างทีมอันทรงประสิทธิภาพในองค์กร คือ การเรียนรู้จากความล้มเหลว ให้ความล้มเหลวเป็นดั่งครูสอนบทเรียนอันมีค่าให้แก่ผู้นำและทุกคน

ผู้นำกับการพัฒนาทีม การทำงานร่วมกันต้องใช้การผสมผสานระหว่างมนุษยสัมพันธ์ การแก้ปัญหาและทักษะการสื่อสารที่จำเป็นเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกัน เรียนรู้ทำความรู้จักกับทีมของคุณ (Get to know your team) เรียนรู้การสร้างภาวะผู้นำ (Establish leadership) ที่ไม่ใช่สักแต่จะนำทีมไปสู่ความสำเร็จแต่ล้มเหลวในความสัมพันธ์ จัดกิจกรรมสร้างความผูกพันในทีม (Organize team bonding activities) ร่วมวางแผนกับสมาชิกในทีม (Plan along with the team) ชื่นชมเมื่อประสบความสำเร็จ (Celebrate victories) และเรียนรู้จากความล้มเหลวไปพร้อมกัน (Learn together from failures)