ทักษะการสื่อสารในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

ทักษะการสื่อสารในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ

ชื่อหลักสูตร ทักษะการสื่อสารในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการและเหตุผล

การสื่อสารในองค์กร เปรียบเสมือนโลหิต เป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการบริหารที่บุคคลพยายามหาช่องทางที่จะทราบความต้องการของฝ่ายหนึ่ง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างกัน โดยอาศัยการพูดการส่งสัญลักษณ์หรือข้อความที่เป็นสื่อ แต่ในขณะเดียวกันการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพ อาจจะก่อให้เกิดความเข้าใจผิดระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารได้

ในสภาวะการแข่งขันทางธุรกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วความสำเร็จทางธุรกิจส่วนหนึ่งขององค์กร คือ การได้ข้อมูลข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อนำมาวิเคราะห์ ปรับใช้ในกระบวนการบริหาร อีกทั้งเสริมสร้างโอกาสทางธุรกิจที่นำมาซึ่งผลตอบแทนขององค์กรในที่สุด การสื่อสารถือเป็นรากฐานสำคัญของกิจกรรมทุกอย่างในองค์กร ซึ่งมีผลสำเร็จหรือความล้มเหลวของกิจการ องค์กรจะบริหารงานด้านต่างๆ ได้มากหรือน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับระบบติดต่อสื่อสาร

องค์กรขนาดใหญ่ ขนาดกลางและขนาดเล็ก แต่ละองค์กรจะทำงานได้มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยการสื่อสารที่ดี จึงจะทำให้การทำงานมีความราบรื่น แต่การที่องค์กรมีบุคลากรเป็นจานวนมาก บางครั้งการสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพกลายเป็นสาเหตุให้บุคลากรในองค์กรไม่เข้าใจงานที่มอบหมายหรือไม่เข้าใจในวัตถุประสงค์ที่ตรงกัน ทำให้เกิดปัญหาในการบริหารงานได้

การสื่อสารภายในองค์กรประสบปัญหาเรื่องการสื่อสารเช่นเดียวกัน 90% และแต่ละบริษัทจะมีปัญหาที่แตกต่างกันไป เช่น 1) หัวหน้ากับลูกน้องไม่คุยกัน หัวหน้าบางคนไม่รู้ว่าจะคุยอะไรกับลูกน้อง ก็เลยเงียบๆ กันไป ลูกน้องเองก็ไม่เคยคิดจะถามอะไรเลยจึงส่งผลให้ต่างคนต่างนั่งเงียบ ต่างทำงานกันไปเรื่อยๆ 2) หัวหน้าคิดไปเองว่าลูกน้องรู้แล้ว กรณีนี้หัวหน้าจะคิดไปเองว่า สิ่งที่หัวหน้ารู้ ลูกน้องก็ต้องรู้ จึงไม่จำเป็นต้องบอกก็ได้ ผลคือลูกน้องก็ยังไม่รู้อยู่ดีว่าองค์กรมีนโยบาย ผลที่ตามมา คือ หัวหน้าก็จะไม่พอใจลูกน้องตลอดเวลา เพราะไม่เคยรู้เลยว่า ผลงานที่ออกมาไม่ดี แต่ฝ่ายลูกน้องก็คิดว่า เพราะลูกพี่ไม่เคยบอกอะไรเลย ว่าตนเองทำอะไรไม่ดีไปบ้าง 3) ปัญหาช่องว่างระหว่างวัย ปัญหานี้มีผลต่อการสื่อสารกันภายในองค์กรอย่างมาก แต่เด็กสมัยใหม่นี้ จะสื่อสารหรือพูดอะไร ต้องการความรวดเร็ว ไม่มีเวลามานั่งคิดหาคาพูด บางครั้งก็มีตัวย่อออกมาโดยไม่รู้ตัว หรือใช้ภาษาวัยรุ่นคุยกับผู้บริหารโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว 4) ลูกน้องคิดเองว่าลูกพี่จะรู้เองได้ ลูกน้องบางคนก็มองหัวหน้าว่า เนื่องจากเป็นหัวหน้าควรต้องรู้เรื่องราวของลูกน้อง 5) เรื่องดีไม่พูด พูดแต่เรื่องไม่ดี ปัญหานี้เกิดขึ้นมากในหลายๆ องค์กรเรื่องราวดีที่เกิดขึ้นในองค์กร มักจะไม่ค่อยมีใครสนใจหรือใส่ใจที่จะบอกต่อ ใครที่ผลงานดี มีความรู้ความสามารถ มักจะไม่ค่อยมีใครใส่ใจ แต่ถ้าเรื่องราวไม่ดีของคนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งข่าวลือแบบฉาวๆ ไม่ดีหน่อย ต่างคนก็ต่างรีบคุย พูดกันสนุกปาก ทั้งที่เรื่องราวอาจไม่เป็นความจริง 6) สื่อสารกันด้วยเทคโนโลยีมากเกินไป ปัญหาการสื่อสารในองค์กรที่เรามักเจออีกเรื่อง คือ การนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยสื่อสารกัน ทั้งที่นั่งติดกัน แต่ก็คุยกันทางออนไลน์ตลอดเวลา แทนที่จะหันหน้าคุยกันให้รู้เรื่องในเวลาอันสั้น บางคนนั่งทำงานติดกัน แทบจะไม่เคยคุยกันเลย ทำให้การสื่อสารล้มเหลว 7) การกรองข้อมูลให้บิดเบือนไปจากข้อเท็จจริง ทาให้ไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง 8) การเลือกรับรู้ข่าวสาร บางคนเลือกรับรู้เฉพาะเรื่องที่ตนเองเข้าใจ และไม่พยายามรับรู้เรื่องอื่นๆ ทำให้ข้อมูลบางเรื่องขาดหายไป 9) อารมณ์ความรู้สึก อารมณ์ความรู้สึกสำคัญมากสำหรับการรับรู้ ความไม่พร้อมทางความรู้สึกทำให้การรับรู้ไม่มีประสิทธิภาพ 10) ได้รับข้อมูลข่าวสารมากเกินไป การรับข้อมูลมากเกินไปทำให้การจัดลำดับความไม่ดีพอที่จะสรุปประเด็นสำคัญได้ 11) การต่อต้าน บางคนมีความขัดแย้งบาดหมางกันมาก่อนทำให้เกิดการต่อต้านได้ 12) ความกดดันเรื่องเวลาการรับรู้ข่าวสารถ้าถูกบิดเบือนด้วยเวลาแล้ว ความเข้าใจก็เป็นไปได้ยาก 13) ปัญหาของภาษา เป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เป็นอุปสรรคในการรับรู้และ 14) วัฒนธรรมประจำชาติ วัฒนธรรมที่แตกต่างกันบางครั้งทำให้ความเข้าใจในเรื่องที่ต้องการสื่อสารผิดเพี้ยนไปได้เช่นกัน

ทักษะการสื่อสารในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้และเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะเอื้อให้องค์กรประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการองค์กร แต่การสื่อสารที่ด้อยคุณภาพนั้นเป็นสิ่งที่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้และที่สำคัญซึ่งไปกว่านั้นก็คือ บุคลากรทุกคนจะต้องทำหน้าที่เป็นผู้สื่อสาร (Communicator) เพราะการสื่อสารมีบทบาทหรือเราสามารถจะใช้ประโยชน์จากการสื่อสารใน 4 ประเด็นหลักๆ คือ การควบคุมดูแล (Controlling) การจูงใจ (Motivation) การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึก (Emotional expression) และด้านข่าวสารข้อมูลต่าง ๆ (Information)

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เข้าใจหลักการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนองค์กร

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้กลวิธีการสื่อสารอย่างมีประสิทธิผล
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปปรับประยุกต์ใช้กับภาระงานประจำ

รายละเอียดหลักสูตร
1. หลักและทฤษฎีการสื่อสาร

2. ความหมายของการสื่อสารในองค์กร
3. กระบวนการสื่อสาร
4. ประเภทของสื่อที่ใช้ในการสื่อสารในองค์กร
5. รูปแบบของการสื่อสาร
6. ลักษณะการสื่อสารในองค์กร
7. จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในองค์กร
8. เทคนิคการสื่อสารในองค์กร

ติดต่อสอบถาม