ชื่อหลักสูตร คิดบวกอย่างสร้างสรรค์
หลักการและเหตุผล
คิดบวกอย่างสร้างสรรค์ มาจากทักษะการคิด สามารถแบ่งได้หลายประเภทตามแนวคิดของนักวิชาการ ได้แก่ ทักษะการคิดในลักษณะต่างๆ เช่น ทักษะในการคิดวิเคราะห์ ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะในการคิดสร้างสรรค์ ทักษะการคิดพื้นฐาน เช่น ทักษะการสื่อความหมาย ทักษะการคิดทั่วไป ทักษะการคิดชั้นสูงหรือทักษะการคิดที่ซับซ้อน เช่น การสรุปความ การให้คำจากัดความการวิเคราะห์ เป็นต้น
ทักษะการคิดที่เป็นแกนหรือทักษะการคิดทั่วไป (Core or General Thinking skills) หมายถึง ทักษะการคิดที่จำเป็นต้องใช้อยู่เสมอในชีวิตประจำวันและเป็นพื้นฐานของการคิดขั้นสูงที่มีความสลับซับซ้อน ซึ่งคนเราจำเป็นต้องใช้ในการเรียนรู้เนื้อหาวิชาการต่างๆ ตลอดจนการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ทักษะการคิดที่เป็นแกน ประกอบด้วยทักษะย่อย ๆ ที่สำคัญ ดังนี้คือ การสังเกต การสำรวจ การตั้งถาม การเก็บรวบรวมข้อมูล การระบุ การจำแนก แยกแยะ การจัดลำดับ การเปรียบเทียบ การจัดหมวดหมู่ การสรุปอ้างอิง การแปล การตีความ การเชื่อมโยง การขยายความการให้เหตุผลและการสรุปย่อ
ทักษะในการคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) หมายถึง ความสามารถในการใช้แนวคิดในการแก้ปัญหาได้อย่างหลากหลาย การฝึกปฏิบัติเพื่อส่งเสริมพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ คือ การแสดงความคิดเห็นต่อกรณีปัญหา การออกแบบผลงาน ผลผลิต การนาทฤษฎีไปใช้ในการตัดสินใจ การนำเสนอโครงการแนวคิดใหม่ๆ การออกแบบการเรียนรู้และการเขียนโครงการเพื่อเสนอ เป็นต้น
การคิดเชิงบวก ทำให้บุคคลมีสุขภาพจิตดีและมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง จะทำให้ผู้คิดเกิดความรู้สึกไปทางบวก ย่อมจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ดี อดทนในการที่จะฝ่าฟันอุปสรรคและปัญหาต่างๆ มีตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อันจะส่งผลให้ทั้งตนเองและสังคมรอบข้างมีความสุขได้ความคิดเชิงบวกเป็นพื้นฐานของการสร้างสติปัญญาให้คนเราเกิดการแก้ปัญหาและการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ออกมาในรูปของการทำลายตนเองหรือต่อสู้ก้าวร้าวทำลายกันและกัน
ในขณะเดียวกันความคิดเชิงบวกจะเป็นจุดเริ่มต้นของความริเริ่มสร้างสรรค์ คิด ประดิษฐ์ค้นคว้าหาแนวทางที่ส่ง ผลออกมาในรูปสร้างสรรค์เกิดประโยชน์สุข เพราะการคิดที่ดีในเชิงบวก จะทำให้ผู้คิดเกิดความรู้สึกไปทางบวก ย่อมจะแสดงออกเป็นพฤติกรรมที่ดี ส่งผลให้ทั้งตนเองและสังคมรอบข้างมีความสุขได้ ถ้าบุคคลมีความคิดเชิงบวก จะทำให้สามารถมองและรับรู้สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามความเป็นจริง เป็นเหตุเป็นผล เป็นการ รับรู้จิตอารมณ์ที่สร้างสรรค์ ย่อมจะทำให้บุคคลมีมีสติปัญญาทางอารมณ์ (EQ-Emotional Quotient) พร้อมที่จะเผชิญและยอมรับในสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นแก่ตน บุคคลอื่นๆ และสังคมได้อย่างรู้เหตุรู้ผล สามารถบริหารจัดการตนเองและสรรพสิ่ง รวมทั้งปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ความคิดเชิงบวกจะทำให้คนเราเกิด แรงจูงใจในตนเอง (Self-Motive) เกิดความเพียรพยายาม อดทนในการที่จะฝ่าฟันอุปสรรคและปัญหาต่างๆ การตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เรียกได้ว่า เป็นผู้ที่มีระดับแห่งความอดทนและเพียรพยายามสู่ความสำเร็จ (AQ-Adversity Quotient)
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้ และเข้าใจหลักการการคิดเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์
2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกปฏิบัติการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้นำองค์ความรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ในการทำงาน
4.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการคิดเชิงบวกอย่างสร้างสรรค์
รายละเอียดหลักสูตร
1.รู้จักความคิดของตนเอง
2.พัฒนาระบบการคิดด้วยการพูด
3.เทคนิคการคิดต่างมุม
4.สร้างสรรค์ความคิดด้วยทัศนคติเชิงบวก
5.กระบวนทัศน์ใหม่ของการคิดเชิงบวก
6.พุทธวิธีการคิดบวกอย่างสร้างสรรค์