SMART GOAL

SMART GOAL คือ หลักเกณฑ์การกำหนดเป้าหมายที่ช่วยเพิ่มโอกาสให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้ เป็นวิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการรักษาแรงจูงใจให้อยู่ในระดับสูง การให้ข้อคิดเห็นอย่างต่อเนื่อง และการเชื่อมโยงภาระงานของแต่ละคนเข้ากับวัตถุประสงค์ขององค์กร

คำจำกัดความของเป้าหมายแบบ SMART

SMART เป็นตัวย่อที่ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกำหนดเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นเรื่องของการบริหารโครงการ การส่งเสริมด้านการตลาด การบริหารประสิทธิภาพการทำงาน และการพัฒนาบุคคล หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับคำว่า SMART มีดังต่อไปนี้

  • Specific (เฉพาะเจาะจง) คือ การตั้งเป้าหมายทั่วไปนั้นยังดีไม่พอ การตั้งเป้าหมายต้องอธิบายสิ่งที่ต้องการทำให้สำเร็จอย่างเจาะจงและชัดเจน ลองนึกถึงคำถามที่ขึ้นต้นด้วย W ได้แก่ Who (ใคร) What (อะไร) When (เมื่อใด) Which (สิ่งใด) และ Why (ทำไม) ใครที่ต้องเกี่ยวข้องด้วย อะไรที่ต้องพยายามทำให้สำเร็จ เมื่อใดที่ต้องการทำให้สำเร็จ กำลังเผชิญกับอุปสรรคหรือข้อกำหนดใด ทำไมจึงตั้งเป้าหมายนี้ ลองตอบคำถามให้ละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • Measurable (วัดผลได้) คือ การมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนสำหรับใช้วัดความก้าวหน้าในการบรรลุเป้าหมาย เมื่อกำหนดเป้าหมายที่วัดผลได้ ให้พิจารณาว่า จะใช้อะไรเป็นเกณฑ์และกำหนดเหตุการณ์สำคัญว่า ต้องการบรรลุเป้าหมายนั้นๆ เมื่อใด
  • Achievable (บรรลุผลได้จริง) คือ เป้าหมายดังกล่าวทำได้จริงหรือไม่ ตรวจสอบว่าสามารถบรรลุเป้าหมายได้จริงหรือไม่ โดยการเปรียบเทียบเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายกับผลประโยชน์ รวมถึงการจัดลำดับความสำคัญอื่นๆ ที่อาจมี ควรคิดด้วยว่าการบรรลุเป้าหมายจะต้องทำอย่างไร และมีเครื่องมือหรือทักษะที่จำเป็นพร้อมหรือไม่ หากไม่มี การหาเครื่องมือและทักษะเหล่านั้นจะยากมากน้อยเพียงใด ไม่ใช่เรื่องผิดที่จะตั้งเป้าหมายอย่างบ้าบิ่น แต่ถ้าเป้าหมายนั้นไม่มีแนวโน้มจะบรรลุผลได้จริง ควรประเมินวัตถุประสงค์ใหม่อีกครั้ง
  • Relevant (มีความเกี่ยวข้อง) คือ การนึกถึงความเกี่ยวข้องของเป้าหมายภายในองค์กรในวงกว้างขึ้น เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน ตัวอย่างเช่น หากบุคลากรได้รับมอบหมายให้ฝึกฝนใช้งานซอฟต์แวร์ด้านการบัญชีโปรแกรมใหม่ด้วยตนเอง องค์กรควรพิจารณาถึงความเกี่ยวข้องระหว่างซอฟต์แวร์กับงานและธุรกิจในภาพรวม เช่นเดียวกัน ถ้าองค์กรกำลังเปิดตัวกลุ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ ย่อมต้องพิจารณาว่า กลุ่มผลิตภัณฑ์นั้นสอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจอย่างไร
  • Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) คือ การกำหนดเวลาคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ต้องมีวันที่เป้าหมายและตั้งคำถามอย่างเจาะจงว่างานใดที่สามารถทำได้สำเร็จภายในกรอบเวลานี้ กำหนดวันที่ครบกำหนดให้เป็นไปได้และยืดหยุ่น แม้ว่า ความรู้สึกเร่งด่วนจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การเปลี่ยนการตั้งเป้าหมายให้เป็นการแข่งกับเวลาจะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับบุคลากรหรือองค์กรในภาพรวม

เมื่อศึกษาเกี่ยวกับการตั้งเป้าหมายแบบ SMART อาจเห็นคำว่า เป้าหมายแบบ SMARTER ระบบ SMARTER เป็นส่วนขยายของ SMART เพียงแต่มีตัวอักษรเพิ่มขึ้นสองตัว คือ Evaluate (ประเมิน) และ Readjust (ปรับใหม่) อธิบายง่ายๆ คือ ตัวอักษรสองตัวนี้ช่วยในการวิเคราะห์และปรับปรุงระเบียบวิธีแบบ SMART เพื่อให้องค์กรได้รับประโยชน์จากกระบวนการอย่างเต็มที่ องค์กรต้องประเมินเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง และถ้าประสบปัญหาเป็นประจำ ให้ปรับเป้าหมายใหม่

เป้าหมายแบบ SMART มีประโยชน์อย่างไร

วัตถุประสงค์แบบ SMART ทำให้มั่นใจได้ว่า ความชัดเจนและการมุ่งเน้นยังคงเป็นส่วนสำคัญของกระบวนการกำหนดเป้าหมาย ในท้ายที่สุดแล้ว เป้าหมายที่คลุมเครือปราศจากแผนงานที่ชัดเจนจะไม่ได้รับความสนใจ ในขณะที่เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจงมีแนวโน้มที่จะได้รับการดำเนินการอย่างจริงจังมากกว่า

SMART GOAL มีกรอบการทำงานที่จำเป็น เพื่อตรวจสอบความสำคัญของเป้าหมายและช่วยองค์กรกำหนดวิธีการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญเช่นกัน คือ อย่าลืมว่าการตั้งเป้าหมายแบบ SMART ทำให้เข้าใจง่ายและไม่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพงในการดำเนินการ ซึ่งหมายความว่า องค์กรแทบทุกแห่งสามารถรับประโยชน์ได้ ตั้งแต่องค์กรขนาดใหญ่ระดับโลกและธุรกิจสตาร์ทอัพ ไปจนถึงร้านค้าขนาดเล็ก

ระเบียบวิธีแบบ SMART ทำให้มั่นใจได้ว่า มีการกำหนดเป้าหมายเพื่อความสำเร็จ ดังนั้น ถ้าองค์กรกำลังจะนำเสนอวิธีการใหม่ในการตั้งเป้าหมาย วิธีการแบบ SMART อาจเป็นวิธีที่ได้ประสิทธิผล ประสิทธิภาพเชิงต้นทุน หมายถึง การทำเช่นนั้น “Measurable” (วัดผลได้) คือองค์ประกอบหลักของกระบวนการ ซึ่งหมายถึงการติดตามตรวจสอบได้ง่าย ด้วยเหตุนี้ วัตถุประสงค์แบบ SMART จึงช่วยชี้ให้องค์กรเห็นเมื่อพลาดเป้าหมาย เป็นผลให้องค์กรตอบสนองได้อย่างรวดเร็วและดำเนินการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญได้ เมื่อเกิดความเสี่ยงที่จะทำไม่ได้ตามวัตถุประสงค์

วิธีใดคือวิธีที่ดีที่สุดในการใช้วัตถุประสงค์แบบ SMART

ในสภาพแวดล้อมขององค์กร มักใช้เป้าหมายแบบ SMART เพื่อปรับปรุงการจัดการประสิทธิภาพการทำงาน เมื่อองค์กรกำลังประเมินพนักงาน การตั้งเป้าหมายแบบ SMART ช่วยให้องค์กรกำหนดและบรรลุเป้าหมายได้ ตัวอย่างของเป้าหมายแบบ SMART ในบริบทอื่นเพิ่มเติมกัน

เป้าหมายแบบ SMART ตัวอย่างที่ 1: เพิ่มการเข้าใช้งานเว็บ 20% ภายในสิ้นปี

การมอบหมายงานให้บุคลากรในองค์กร โดยการเพิ่มการเข้าใช้งานเว็บไซด์ อาจส่งผลสำคัญต่อผลประกอบการของธุรกิจ ซึ่งช่วยให้องค์กรเชื่อมต่อกับลูกค้ามากขึ้น และดึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายจากขั้นตอนแรกของการทำการตลาด (Top of Funnel)

  • Specific (เฉพาะเจาะจง) – เพิ่มการเข้าใช้งานเว็บอย่างน้อย 20% ภายในสิ้นปี
  • Measurable (วัดผลได้) – การใช้โปรแกรมตรวจสอบการเข้าใช้งานเว็บมาตรฐานอย่างเช่น Google Analytics ทำให้วัดความก้าวหน้าได้อย่างต่อเนื่อง
  • Achievable (บรรลุผลได้จริง) – เนื่องจากเป็นเครื่องมือและเทคนิคทางการตลาดแบบดิจิทัลที่ทีมคุ้นเคยอยู่แล้ว จึงเป็นเป้าหมายที่บรรลุผลได้จริง หากมีการจัดลำดับความสำคัญไว้เหนือกว่าเป้าหมายธุรกิจอื่นๆ
  • Relevant (มีความเกี่ยวข้อง) – การเข้าใช้งานที่เพิ่มขึ้นช่วยเพิ่มรายได้และช่วยให้ธุรกิจขยายการเข้าถึงได้มากขึ้น
  • Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) – มีการตั้งวันที่ครบกำหนดเป็นสิ้นปีสำหรับเป้าหมายนี้ โดยมีเหตุการณ์สำคัญในแต่ละเดือนที่ช่วยให้มั่นใจว่าจะมีความก้าวหน้า

เป้าหมายแบบ SMART ตัวอย่างที่ 2: ชำระหนี้ 20,000 ดอลลาร์ ภายใน 24 เดือน

การตั้งเป้าหมายทางการเงินเป็นวิธีที่ยอดเยี่ยมในการควบคุมการเงินขององค์กร ถ้าต้องการนำการตั้งเป้าหมายแบบ SMART มาใช้ในกระบวนการบริหารการเงิน การชำระหนี้ธุรกิจอาจเป็นการเริ่มต้นที่ดี

  • Specific (เฉพาะเจาะจง) – ชำระหนี้ธุรกิจ 20,000 ดอลลาร์
  • Measurable (วัดผลได้) – ติดตามตรวจสอบความก้าวหน้าโดยใช้เครื่องมือทางบัญชี โดยการแยกย่อยหรือติดตามความก้าวหน้าเป็นรายเดือนหรือรายสัปดาห์
  • Achievable (บรรลุผลได้) – การปรับบัญชีลูกหนี้ให้เหมาะสมและการทำให้มั่นใจว่าผู้จำหน่ายชำระเงินครบจำนวนแบบตรงเวลา และเป้าหมาย 20,000 ดอลลาร์ก็เป็นเป้าหมายที่สามารถทำให้สำเร็จได้
  • Relevant (มีความเกี่ยวข้อง) – การชำระหนี้ธุรกิจช่วยให้มั่นใจว่าธุรกิจมีสถานะทางการเงินที่ดีที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทำให้มีเงินทุนที่จำเป็นเพื่อกระตุ้นการเติบโตและซื้อสินทรัพย์ใหม่ได้
  • Time-bound (มีกรอบเวลาชัดเจน) – การตั้งกรอบเวลา 24 เดือนโดยมีการกำหนดเหตุการณ์สำคัญทุกสามเดือนเพื่อให้แน่ใจว่าทำได้ตามเป้าหมาย

เรียนรู้ร่วมกัน