Problem-based learning

Problem-based learning

ชื่อหลักสูตร Problem-based learning
หลักการและเหตุผล

Problem-based learning จำเป็นอย่างยิ่งต่อองค์กรเพราะสังคมไทยในปัจจุบันกําลังเผชิญกับวิกฤตต่างๆ รอบด้าน เนื่องมาจากการรีบเร่งเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็วให้ทันกระแสของโลกยุคโลกาภิวัตน์ สภาพการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นวิกฤตทางเศรษฐกิจ การเมือง ความเสื่อมโทรมของสังคม ความหย่อนยานทางศีลธรรมและจริยธรรม รวมทั้งความพ่ายแพ้ในการแข่งขันคุณภาพและสมรรถภาพด้านต่างๆ ในระดับสากล ล้วนบ่งชี้อย่างชัดเจนถึงความล้มเหลวของการพัฒนา และความไม่พร้อมของปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพของ “คน” อันเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการแก้ไขปัญหาที่ถาโถมเข้ามาผ่านการรับรู้ทางสื่อเทคโนโลยี การสื่อสารระหว่างกัน เป็นต้น

การแก้ไขปัญหาโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เป็นรูปแบบการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนสร้างความรู้ใหม่จากการใช้ปัญหาที่เกิดขึ้นในโลกแห่งความเป็นจริงเป็นบริบท (context) ของการเรียนรู้ เพื่อให้บุคลากรเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์และคิดแก้ปัญหา รวมทั้งได้ความรู้ตามศาสตร์ในสาขาวิชาที่ตนศึกษาด้วย การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานจึงเป็นผลมาจากกระบวนการทำงานที่ต้องอาศัยความเข้าใจและการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะในการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาตามศาสตร์ของเนื้อหาในสถานการณ์จริงที่พบในชีวิตจริง ผ่านกระบวนการทำงานที่อาศัยความเข้าใจ แก้ปัญหาเป็นหลักโดยเน้นให้ผู้เรียนสร้างเป็นความรู้ใหม่ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง เรียกได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานควรใช้ปัญหาหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือผู้เรียนมีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เป็นปัญหาหรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้นบ่อย เป็นปัญหาที่มีการแสวงหาคำตอบหรือแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย และเป็นปัญหาที่เหมาะสมกับวัยของบุคลากร และการนำปัญหาขององค์กรมาร่วมกันแก้ไขย่อมดีมากกว่าปล่อยให้ปัญหาเป็นของคนใดคนหนึ่ง

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยปัญหานั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับผู้เรียน อาจเป็นเรื่องที่ผู้เรียนสนใจหรือ มีความหมายกับผู้เรียนที่สามารถนำมาสร้างกระบวนการเรียนรู้ได้โดยปัญหา แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ

    1.ปัญหาไม่ซับซ้อนสามารถค้นคว้าและคิดหาคำตอบในระยะสั้น กระบวนการเรียนรู้จะสามารถหาคำตอบของปัญหาหรือประเด็นที่สนใจ

   2.ปัญหาที่ซับซ้อน ต้องศึกษาค้นคว้า พัฒนา ตรวจสอบ โดยใช้ระยะเวลาที่ยาวนานกว่า อาจต้องสร้างชิ้นงานเพื่อนำไปใช้ในการแก้ไขปัญหา ลักษณะนี้ มักจะใช้ Project-based Learning เข้ามาช่วย

การเรียนรู้ด้วย PBL มุ่งสร้างประสบการณ์ตรง จึงเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ ฝึกทักษะการคิด เผชิญสถานการณ์ปัญหา วางแผนการเรียนรู้ และตรวจสอบกำกับการเรียนรู้ และนอกจากนี้ PBL ยังช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียนให้กับผู้เรียนได้อีกด้วยอาจกล่าวได้ว่า “ภาระงานที่ท้าท้าย ช่วยสร้างทักษะการคิดและแก้ปัญหาได้ดี”ดังนั้น  การเรียนรู้ด้วย PBL จึงเป็น “การใช้ปัญหา ทำให้เกิดปัญญา

การเปลี่ยนแปลงใด ๆ จะให้เกิดผล ต้องไม่ใช้วิธีคิดแบบเดิม” จุดเน้นการพัฒนาผู้เรียนของโรงเรียนสุขภาวะเน้นให้เกิด “ปัญญาภายใน” ที่ใช้กิจกรรมจิตศึกษา และ “ปัญญาภายนอก” ซึ่งการสร้างปัญญาภายนอก เป็นเรื่องของการพัฒนาวิธีคิด ทักษะการเรียนรู้ ให้กับผู้เรียน โดยการจัดการเรียนรู้ด้วย PBL ที่เป็นการปรับวิธีเรียนเปลี่ยนวิธีสอนจากเดิม

กระบวนการแก้ไขปัญหาร่วมกันในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์กร เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการความรู้ในองค์กร โดยบุคลากรร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาแสวงหาสาเหตุที่มา ปัจจัย และองค์ประกอบของปัญหาที่แท้จริง เพื่อนำมากำหนดมาตรการในการปฏิบัติงานร่วมกัน อันจะนำไปสู่พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเรียนรู้วิธีการวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ไขปัญหาด้วยเทคนิคการแก้ไขปัญหาด้วย PBL

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีแนวทางปฏิบัติที่ดี (Good practice) ในการแก้ไขปัญหาในครั้งต่อไป

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้อที่ 1 PBL Development

  • พื้นฐานสำคัญ PBL Development
  • เทคนิคการแก้ไขปัญหาแบบ PBL Development
  • ความแตกต่างระหว่าง PBL Development กับแนวทางการแก้ไขปัญหาอื่น
  • คุณสมบัติเด่น PBL Development
  • บทบาทหน้าที่ของบุคลากรในองค์กรต่อ PBL Development
  • การนำ PBL Development ไปใช้

หัวข้อที่ 2 พฤติกรรมแห่งความซื่อสัตย์สุจริต

  • My Problem   ค้นหาสาเหตุของปัญหาที่แท้จริง
  • Need to know กระบวนการแสวงหาปัญหา
  • SWOT วิเคราะห์ศักยภาพของตนเองและองค์กรเพื่อแก้ไขปัญหา
  • How to solve แนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
  • My Commitment จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ

ติดต่อสอบถาม