ชื่อหลักสูตร Critical Thinking
หลักการและเหตุผล
Critical Thinking หรือการคิดวิเคราะห์/การคิดเชิงวิพากษ์ คือ เครื่องมือที่จำเป็นยิ่งยวดเพื่อการตัดสินหรือลงความเห็นด้วยวิธีสืบเสาะ กำหนดเป้าหมายที่ถูกต้องชัดเจนและการบังคับตนเองไม่ให้ถูกชักจูง เพื่อให้ได้มาซึ่งการแปลความหมาย การวิเคราะห์ การประเมินและการลงความเห็นตลอดจนการอธิบายพยานหลักฐานหรือสิ่งอ้างอิง แนวคิด วิธีการ การกำหนดกฎเกณฑ์หรือบริบทของข้อพิจารณาที่เป็นที่มาของข้อสรุป ความเห็น หรือข้อตัดสิน
การคิดวิเคราะห์/การคิดเชิงวิพากษ์หรือการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เป็นกระบวนการคิดที่ใช้เหตุ ใช้ผลพิจารณาไตร่ตรองอย่างรอบคอบ โดยการศึกษาข้อมูล หลักฐาน แยกแยะข้อมูลว่าข้อมูลใดคือข้อเท็จจริง ข้อมูลใดคือความคิดเห็น ตลอดจนพิจารณาความน่าเชื่อถือของข้อมูล แล้วตั้งสมมติฐานเพื่อหาสาเหตุของปัญหาและสามารถหาแนวทางแก้ไขปัญหานั้นๆ ได้
กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณจะนำไปสู่การคิดตัดสินใจอย่างรอบคอบ เพื่อให้เห็นว่าเรื่องใดควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ เพราะเหตุใด ผู้ที่มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณจะเป็นคนใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล ไม่ยึดความคิดเห็นของตนเองเป็นหลัก ก่อนตัดสินใจอย่างใดต้องมีข้อมูลหลักฐานเพียงพอและสามารถเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองได้ หากเห็นว่าความคิดเห็นของผู้อื่นดีกว่ามีเหตุผลมากกว่า
นอกจากนี้ ผู้ที่มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณจะต้องเป็นผู้ที่มีความกระตือรือร้นในการแสวงหาข้อมูลและความรู้อยู่เสมอ ตลอดจนเป็นผู้ที่มีเหตุผลไม่ใช้อคติหรืออารมณ์ของตนเองเป็นสำคัญ นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ที่ไวต่อความรู้สึกของผู้อื่นเข้าใจผู้อื่น ทำให้รับรู้สถานการณ์ความคิด ความรู้สึกของผู้อื่นได้ดี
หากบุคลากรขององค์กรไม่มีทักษะการคิดวิเคราะห์/การคิดเชิงวิพากษ์ ย่อมจะส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลและองค์กรนั้นๆ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์/การคิดเชิงวิพากษ์ เพื่อการตัดสินใจและการแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์เพื่อการตัดสินใจและแก้ปัญหาในการปฏิบัติงาน
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักในความสำคัญของการคิดวิเคราะห์/การคิดเชิงวิพากษ์อย่างมีประสิทธิภาพ
รายละเอียดหลักสูตร
หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ทักษะการคิดแก้ไข
1.1 ความหมายของปัญหา
1.2 ความหมายของการแก้ปัญหา
1.3 องค์ประกอบที่ส่งผลต่อการแก้ปัญหา
1.4 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา
หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2.1 ความหมายของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2.2 องค์ประกอบของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2.3 กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2.4 คุณสมบัติที่เอื้ออํานวยต่อการคิด
2.5 คุณลักษณะของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2.6 ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
2.7 ประโยชน์ของการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การฝึกปฏิบัติ (Workshop)
3.1 เทคนิคการรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์ (Gathering data Technique for Analysis)
3.2 การกำหนดทางเลือกหลายๆ ทางสำหรับการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
(The Identify of way to Problem Solving & Decision Making)
3.3 กรณีศึกษา : ความล้มเหลวของการแก้ปัญหาอันเนื่องมาจากการวิเคราะห์ปัญหาผิดพลาด