พัฒนาทัศนคติ

พัฒนาทัศนคติ

ชื่อหลักสูตร พัฒนาทัศนคติ
หลักการและเหตุผล

พัฒนาทัศนคติ คําว่า ทัศนคติ เป็นคำสมาส ระหว่างคําว่า ทัศนะ แปลว่า ความเห็น กับคําว่า คติ แปลว่า แบบอย่างหรือลักษณะ ตามความหมายที่พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตสถานได้ให้ความหมายไว้ เมื่อนําทั้งสองคํามารวมกันจะได้ความหมายว่า ความรู้สึกส่วนตัวที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อทัศนคติเป็นนามธรรม เป็นความรู้สึกนึกคิดและมีผลที่ทำให้เกิดการแสดงออกด้านการปฏิบัติและความพร้อมที่จะตอบโต้ต่อสิ่งเร้านั้นๆ ดังนั้น ทัศนคติจึงสามารถทำให้เราทราบถึงแนวทางการตอบสนองของแต่ละบุคคลซึ่งสามารถเป็นได้ทั้งในรูปแบบเชิงบวกและรูปแบบเชิงลบ

แนวคิดด้านการส่งเสริมทัศนคติของบุคลากรในองค์กรว่าเป็นเรื่องที่แทรกอยู่ในศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาด้านพฤติกรรมองค์การหรือพฤติกรรมศาสตร์ที่ศึกษาถึงพฤติกรรม ทัศนคติ ค่านิยมของมนุษย์ ซึ่งล้วนแต่มีความเกี่ยวโยงกับศาสตร์ต่างๆ อีกหลากหลายแขนง ทั้งนี้ เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการบุคลากรขององค์กรให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่องค์กรได้วางไว้ แต่เนื่องจากการบริหารงานในองค์กรนั้นเป็นกระบวนการทำงานของผู้บริหารในการดําเนินงานให้สำเร็จโดยใช้บุคคลอื่น โดยการบริหารเป็นกระบวนการของการวางแผน จัดการองค์กรและควบคุมปัจจัยต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยด้านบุคลากรหรือทรัพยากรมนุษย์เป็นปัจจัยที่มีความต้องการ มีความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์ เพราะฉะนั้น การที่จะทำการบริหารจัดการหรือส่งเสริมทัศนคติให้บุคลากรปฏิบัติงานได้สำเร็จ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามเป้าประสงค์ขององค์กร ตลอดจนสามารถที่จะทำการแข่งขันและทำให้องค์กรอยู่รอดได้นั้น เหล่าผู้บริหารหรือฝ่ายวางแผนการดําเนินงานในองค์กรจึงจําเป็นที่จะต้องทำการศึกษาถึงทัศนคติและพฤติกรรมภายในองค์กร เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความสัมพันธ์ของทัศนคติกับพฤติกรรมและสามารถคาดการณ์พฤติกรรมที่เกิดจากทัศนคติของบุคลากรในองค์กรได้ ตลอดจนควบคุมปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหรือส่งเสริมทัศนคติของคนในองค์กร เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์

ทัศนคติเป็นความเชื่อส่งผลถึงพฤติกรรม (Behavioral Beliefs) ความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมนี้จะมีความเกี่ยวโยงกับพฤติกรรมของแต่ละคนที่ตั้งความหวังจากผลลัพธ์ของการปฏิบัติของพฤติกรรมนั้นๆ โดยความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมนั้นเป็นความเชื่อของแต่ละคนที่ได้รับอิทธิพลมาจากความรู้สึกนึกคิดส่วนตัวที่เชื่อว่าหากปฏิบัติพฤติกรรมนั้นแล้วจะได้จะได้ผลของการปฏิบัติไปในทางที่ดี บุคคลย่อมจะมีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติต่อพฤติกรรมนั้นดีตามไปด้วย แต่ในทางกลับกันถ้าหากว่า บุคคลมีความเชื่อว่าถ้าปฏิบัติพฤติกรรมนั้นแล้วจะได้ผลของการปฏิบัติไปในทางที่ไม่ดีแล้วทัศนคติที่มีต่อพฤติกรรมนั้นๆ ก็มีแนวโน้มที่จะไม่ดีตามไปด้วย

ไม่มีองค์กรใดกล้าปฏิเสธว่า คุณภาพของการทำงานขึ้นอยู่กับทัศนคติ (Attitude) ของผู้ปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นลักษณะงานในส่วนใดก็ตาม งานที่ต้องประสานกับผู้คนเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่งานในกระบวนการผลิต เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะว่า ผู้ปฏิบัติงานมีทัศนคติที่ดีต่องานนั้นย่อมจะทำงานด้วยความรักและชอบในงานที่ทำส่งผลให้การปฏิบัติงานในองค์กรเป็นไปอย่างมีความสุข ทำงานด้วยความเต็มใจ ภาคภูมิใจและรู้แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนางาน พัฒนาองค์กร ผลที่ตามมา คือ องค์กรผลิตผลงานที่มีประสิทธิภาพ สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าหรือได้ผลผลิตตามที่องค์กรตั้งเป้าหมายไว้

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างทัศนคติที่ดีที่ถูกต้องเกี่ยวกับการทำงาน การพัฒนาตนเอง การพัฒนางาน

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้และความเข้าใจถึงความแตกต่างของมนุษย์ อันจะก่อให้เกิดการเรียนรู้วิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่นและการวางตัวอย่างเหมาะสมในการปฏิบัติงาน
3.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแก้ปัญหาในการทำงานอย่าง ถูกวิธีและสามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติในการทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข
4.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดความรัก ความผูกพันในองค์กร และสามารทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุขอันมีผลในการส่งเสริมเผยแพร่ชื่อ เสียงขององค์กรสืบต่อไป
5.เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเรียนรู้และเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างแท้จริง เกิดความอยากเปลี่ยนแปลงตัวเอง ด้วยการพัฒนาทัศนคติที่ดีในการทำงานและมีความสุขกับการเปลี่ยนแปลง

รายละเอียดหลักสูตร
1.การวิเคราะห์ศักยภาพในตนเอง

– วิเคราะห์ศักยภาพของตนเอง
– เข้าใจตนเองก่อนเข้าใจคนอื่น
– จุดยืนของชีวิต ทัศนคติของตนเอง
– อุปสรรคในการทำงาน

2. การพัฒนากระบวนการคิด
– เทคนิคการคิดอย่างเป็นระบบ
– เทคนิคการคิดบวก
– เทคนิคการคิดแก้ไขปัญหาเชิงวิกฤติ
– หลักการคิดแบบโยนิโสมนสิการ

3. การบริหารการเปลี่ยนแปลง
– ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
– ประเภทของการเปลี่ยนแปลง
– 5 กิจกรรมสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิภาพ

4. การสร้างแรงจูงใจในการทำงาน
– เป้าหมายของตนเอง
– เป้าหมายขององค์กร
– หลักการพัฒนาตนเอง

5. เทคนิคการแก้ไขปัญหาในทำงาน
– แก้ไขปัญหาการสื่อสารด้วยการจัดการความรู้ในองค์กร
– บริหารความเสี่ยง หลีกเลี่ยงปัญหา

ติดต่อสอบถาม