การจัดการความรู้ในองค์กร

การจัดการความรู้ในองค์กร

ชื่อหลักสูตร การจัดการความรู้ในองค์กร
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบัน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการความรู้ภายในองค์กรกันมากขึ้น การให้ความสำคัญต่อองค์ความรู้ที่เป็น “สินทรัพย์” มีความจำเป็นมากเพราะโลกขององค์กรยุคใหม่ที่ต้องเผชิญกับการแข่งขันรุนแรงและความต้องการใหม่ๆ ของผู้รับบริการ การมองว่า ความรู้เป็นสินทรัพย์ ก็เพราะว่า ในองค์กรต่างๆ มีแหล่งความรู้ที่ไม่สามารถหาได้จากที่อื่น แต่เกิดจากประสบการณ์ของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์จริงมานานนับหลายสิบปีทั้งประสบการณ์ที่ประสบความสำเร็จและประสบการณ์ที่เกิดจากปัญหา

อุปสรรคต่างๆ ที่สามารถก้าวข้ามผ่านมาได้ ดังนั้น องค์กรคงต้องคิดว่าจะทำอย่างไรที่จะนําองค์ความรู้เหล่านั้นมาเผยแพร่ให้กับบุคลากรภายในองค์กรได้อย่างต่อเนื่องและทั่วถึง ซึ่ง คําว่า “การจัดการความรู้ (Knowledge Management-KM)” ได้เข้ามามีบทบาทกับสังคมเป็นอย่างมาก นักคิดสำคัญชาวญี่ปุ่น คือ Nonaka กับ Takeuchi แห่งสำนัก Hitosubashi ได้ทำการวิจัยและนําเสนอแนวคิดที่สำคัญในหนังสือ ชื่อ “The Knowledge-Creating Company (1995)” ว่าสาเหตุที่ทำให้บรรษัทของญี่ปุ่นสามารถสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง เกิดจากการแปลงเอา Tacit Knowledge ที่อยู่ในตัวบุคลากรในองค์กรญี่ปุ่นออกมาเป็น Explicit Knowledge ทำให้เกิดการสื่อสารและแลกเปลี่ยนความรู้กันได้ ทำให้เกิดมีลักษณะของ “วงจรของการสร้างความรู้” อย่างต่อเนื่องและไม่มีที่สิ้นสุด

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เป็นกระบวนการที่จะช่วยให้เกิดพัฒนาการของความรู้ หรือการจัดการความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร โดยมีองค์ประกอบอยู่ 7 ประการ คือ การค้นหา/บ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) การสร้างและการแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) การประมวลและกลั่นกรองความรู้(Knowledge Codification and Refinement) การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Sharing) และการเรียนรู้ (Learning) กระบวนการที่กล่าวถึงนี้ สามารถปรับเปลี่ยนความรู้ให้อยู่ในรูปแบบของทุนทางปัญญา (Intellectual Capital) โดยมีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคคลและการเผยแพร่กระจายความรู้อย่างกว้างขวาง จนก่อให้เกิดฐานความรู้ขนาดใหญ่ เป็นแหล่งความรู้ขององค์กรได้

ประโยชน์ของการจัดการความรู้ ทำให้เกิดการตัดสินใจที่ดีกว่าและเร็วกว่า ทำให้ง่ายที่จะพบข้อมูลและแหล่งที่สำคัญ ทำให้เกิดการใช้ซ้ำความคิด เอกสารและความชำนาญ การใช้ซ้ำดีต่อองค์กรเพราะลดการทำงานซ้ำ ไม่ทำให้เกิดปัญหา ประหยัดเวลาและทำให้เกิดความก้าวหน้า ไม่ทำให้เกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อน ไม่ทำให้เกิดการทำผิดเป็นครั้งที่สอง การจัดการความรู้ทำให้เกิดการแบ่งปัน lessons learned ไม่เพียงเกี่ยวกับความสำเร็จ แต่ยังเกี่ยวกับความล้มเหลว ทำให้ได้รับประโยชน์จากความชำนาญและประสบการณ์ที่มีอยู่ รู้อะไรที่คนอื่นรู้สามารถมีประโยชน์มากในเวลาที่ต้องการเนื่องจากเรียนรู้จากประสบการณ์ของคนอื่นและประยุกต์ใช้กับความต้องการของตนเอง ทำให้เกิดการสื่อสารข้อมูลที่สำคัญอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว สนับสนุนขบวนการและขั้นตอนที่ได้มาตรฐานและทำซ้ำได้ โดยการจัดให้มีขบวนการสำหรับสร้าง เก็บ สื่อสาร และใช้ขบวนการและขั้นตอนที่ได้มาตรฐาน พนักงานจะสามารถใช้เป็นงานประจำ ทำให้มีวิธีการ เครื่องมือ templates เทคนิค และตัวอย่าง วิธีการ เครื่องมือ templates เทคนิค และตัวอย่างเป็นส่วนประกอบสนับสนุนขบวนการและขั้นตอนที่ทำซ้ำได้ ทำให้ความชำนาญที่ขาดแคลนมีให้อย่างกว้างขวาง ถ้ามีใครเป็นที่ต้องการมากเนื่องจากมีทักษะซึ่งขาดแคลน การจัดการความรู้สามารถช่วยทำให้แหล่งนั้นมีให้ทั่วทั้งองค์กร วิธีที่จะทำคือ community discussion forums  การฝึกอบรม ถามระบบผู้เชี่ยวชาญ การนำเสนอที่ถูกบันทึกไว้  white papers  blogs  podcasts และวีดีโอ แสดงลูกค้าวิธีใช้ความรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์ เร่งให้เกิดการส่งไปยังลูกค้า การแบ่งปันความรู้ การใช้ซ้ำ และนวัตกรรมสามารถลดเวลาที่จะส่งข้อเสนอ ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการไปยังลูกค้าอย่างมาก ทำให้องค์กรใช้ประโยชน์จากขนาด ในขณะที่องค์กรขยาย ขนาดที่เพิ่มขึ้นมีประโยชน์เพียงถ้าสามารถใช้ความรู้ทั้งหมดของพนักงาน โดยการใช้เครื่องมือเช่น communities, expertise locators และ repositories พลังอย่างสมบูรณ์ขององค์กรขนาดใหญ่สามารถเป็นประโยชน์ ทำให้ประสบการณ์ในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดขององค์กรใช้ซ้ำได้ กระตุ้นนวัตกรรมและการขยายตัว การสร้างความรู้ใหม่ผ่านการแบ่งปันความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ความร่วมมือ และการส่งข้อมูล สามารถกระตุ้นนวัตกรรม

การขับเคลื่อนองค์การแห่งการเรียนรู้จำเป็นอย่างยิ่งที่บุคลากรจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กรหรือ Knowledge Management หากแต่ ปัจจุบันกลับยังพบว่า บุคลากรจำนวนมากยังมีความเข้าใจในการจัดการความรู้ในองค์กรอยู่น้อย ส่งผลให้การขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้ไม่ชัดเจน ไม่มีผลอย่างเป็นรูปธรรม

การจัดการความรู้ในองค์กร หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด

วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดการความรู้ในองค์กรหรือ Knowledge Management เพื่อก้าวสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูประบบราชการ

2.เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้เครื่องมือในการบริหารจัดการองค์กรและพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการที่มีศักยภาพ

รายละเอียดหลักสูตร

1. การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย
– การเตรียมการสอนของวิทยากรกระบวนการ
– การวิเคราะห์ผู้ฟังเพื่อการบรรยาย
– การวางแผนการสอน ตามหลัก 5W1H

2. การจัดลำดับเนื้อหาในการนำเสนอ/กิจกรรม
– การสร้างโครงเรื่องเพื่อการนำเสนอ/กิจกรรม
– จิตวิทยาการจูงใจและทำให้ผู้อื่นคล้อยตาม
– การตั้งคำถามและการใช้ปฏิภาณไหวพริบ

3. เทคนิคการจัดกระบวนการเพื่อกระตุ้นการมีส่วนร่วมในงานพัฒนาพื้นที่สูง
– เทคนิคการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้
– ขั้นตอนของการสร้างสรรค์บรรยากาศ
– เทคนิคการสร้างอารมณ์ขันเพื่อสร้างบรรยากาศ
– การใช้สื่อและอุปกรณ์ประกอบการบรรยาย
– ประเภทของสื่อและอุปกรณ์

4. เทคนิคอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
– บุคลิกภาพแห่งปัญหาของวิทยากร
– การพัฒนาบุคลิกภาพภายนอกและภายใน
– จริยธรรมและจรรยาบรรณของวิทยากรกระบวนการ

5. ฝึกปฏิบัติการเป็นวิทยากรกระบวนการที่ดี
6. ฝึกการนำเสนอ และอภิปรายแลกเปลี่ยนข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาทักษะการเป็นวิทยากรกระบวนการ